May 11, 2012

ข้อแตกต่างระหว่าง แพทย์แผนไทย - แพทย์แผนไทยประยุกต์

              การแพทย์แผนไทย หรือ การแพทย์แผนโบราณ เป็นความพยายามจะอธิบายภาวะต่างๆที่เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ(เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่างๆในร่างกายเข้ามาอธิบาย ผสมผสานองค์ความรู้จากอินเดีย พุทธศาสนา และองค์ความรู้ที่เราพัฒนาขึ้นมาเอง โดยบรมครูการแพทย์แผนไทย คือ ท่านชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำตัวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง
              การแพทย์แผนไทยอาจจะไม่มีองค์ความรู้ด้านกลไกการเกิดโรค และเทคนิคทางศัลยกรรมมากนัก แต่ต้องมีองค์ความรู้ด้านกลวิธีทางคลินิก เช่น การซักประวัติ และการรักษาด้วยยา เพียงแต่ขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ทางคลินิก (Evidence-based clinical knowledge) ซึ่งก็มาจากกฎข้อบังคับตามใบอนุาตประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ที่ว่า "มิให้แพทย์แผนไทยกระทำการอันเป็นวิทยาศาสตร์ใด ๆ" นั่นเอง ทำให้ไม่สามารถมีการตั้งสมมุติฐานและวิจัยได้อย่างเต็มที่

         แพทย์แผนไทยประยุกต์ คือ บุคลากรทางการแพทย์สาขาหนึ่ง เกิดขึ้นจากแนวคิดของ นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ ที่ต้องการพัฒนาและยกฐานะของการแพทย์แผนไทยโบราณของไทยเราให้มีความเป็น วิทยาศาสตร์และมีหลักวิชาการรองรับในการอธิบาย อาจกล่าวได้ว่า แพทย์แผนไทยประยุกต์เป็นบุคลากรการแพทย์สายพันธุ์ใหม่ของสังคมไทย ที่ครึ่งหนึ่งขององค์ความรู้ต้องร่ำเรียนหลักวิชาการทางการแพทย์แผนตะวันตก สามารถใช้เครื่องมือทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้บางอย่าง(ตามที่ข้อกฎหมายกำหนด) สามารถวินิจฉัยตามหลักการแพทย์ เพียงแต่เมื่อถึงขั้นตอนในการรักษานั้น ต้องรักษาด้วยยาแผนไทยเท่านั้น นอกจากนั้น ยังสามารถทำคลอดและให้การบำรุงแม่และทารก ตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
         แพทย์แผนไทยประยุกต์ ต้องสอบใบอนุาตประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยเฉพาะเสียก่อน จึงสามารถปฏิบัติงานในโรงพยาบาล หรือให้การรักษาแก่ผู้ป่วยได้ การสอบใบประกอบโรคศิลปะนั้น จะต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์เท่านั้นจึงจะเป็นแพทย์ แผนไทยประยุกต์ที่สมบูรณ์และถูกต้อง

           สรุป การแพทย์แผนไทย กับ การแพทย์แผนไทยประยุกต์ นั้นมีความแตกต่างกันชัดเจน คือ การแพทย์แผนไทย เน้นการวินิจฉัย การรักษา และการจ่ายยา ด้วยหลักการของการแพทย์แผนไทย และจ่ายยาด้วยสมุนไพร เพียงแต่มีข้อจำกัดในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบตะวันตก ซึ่งต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะเช่นเดียวกัน แต่ขึ้นทะเบียนกันคนละประเภทกัน

ที่มา : http://blog.eduzones.com/diaw30/23916

No comments:

Post a Comment