May 11, 2012

History of Medicine : ความแตกต่างระหว่างแพทย์แผนตะวันตกและแพทย์แผนตะวันออก

  • การแพทย์แผนตะวันตก ได้แก่ การแพทย์กรีก , การแพทย์อาหรับ เป็นต้น
  • การแพทย์แผนตะวันออก ได้แก่ การแพทย์ในภูมิภาคเอเชีย เช่น การแพทย์แผนจีน ,การแพทย์แผนไทย, การแพทย์แผนอายุรเวทของอินเดีย , การแพทย์แผนธิเบต เป็นต้น 

         การแพทย์ในสมัยโบราณจะมีลักษณะพิเศษ คือ ใช้วิธีการบำบัดรักษาด้วยตัวยาที่ปรุงขึ้นจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ ตลอดจนการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆด้วยการนวดกดจุดและศาสตร์แห่งพลังต่างๆ เช่น ชี่กง, การฝึกพลังภายใน และศาสตร์ว่าด้วยจักระในร่างกาย เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างแพทย์แผนตะวันตกและแพทย์แผนตะวันออก
ความแตกต่าง
แพทย์แผนตะวันตก
แพทย์แผนตะวันออก
1.แนวคิดการเกิดโรค
-เกิดเฉพาะจุด เช่น การเสียหน้าที่ของอวัยวะ การติดเชื้อโรค เป็นต้น
-มีการตั้งทฤษฎีที่ว่า จุลินทรีย์เป็นต้นตอให้เกิดโรคได้ (Louis Pasteur & Robert Koch)
ธาตุในร่างกายไม่สมดุลกับสิ่งแวดล้อม
(เน่ยจิง : "ร่างกายไม่สามารถประสานกลมกลืนกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมก็จะทำให้เกิดโรค จะเห็นได้ว่าโรคนั้นเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของชีวิต ไม่ใช่สิ่งลี้ลับอะไรเลย")
2.วิวัฒนาการความรู้ทางการแพทย์







การรักษา











ยกตัวอย่าง เช่น การรักษาอาการการหวัด



ตัวยา






การออกฤทธิ์ของยา





 
โรคที่เหมาะแก่การรักษา
 การแพทย์ตะวันตกนั้น เป็นผลจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ จากการทดลองกับสัตว์ เช่น หนู กระต่าย ลิง เป็นต้น แล้วนำผลสรุปจากการทดลองในสัตว์มาใช้กับมนุษย์ (ซึ่งมีคุณภาพต่างจากสัตว์) เป็นการศึกษาโดยทางอ้อม



-เน้นทางศัลยกรรม
-การแพทย์แผนตะวันตก รักษาเฉพาะจุด เฉพาะอวัยวะบริเวณที่เกิดโรค ,รักษาตามชื่อโรค








แพทย์แผนตะวันตกจะมองว่าโรคเกี่ยวกับปอดและจะมุ่งรักษาปอดเพียงอย่างเดียว

  
ยาเดี่ยว
-แบบเคมีสังเคราะห์
-แบบเคมีทางพฤกษศาสตร์(สารเคมีที่สกัดจากพืชธรรมชาติ)


การเน้นรักษาโรคด้วยยาเดี่ยวหรือสารสกัดจากสมุนไพรล้วนๆ  ซึ่งการออกฤทธิ์ของยาจะไม่จำเพาะเจาะจงต่ออวัยวะเป้าหมาย
 


โรคที่ใช้การผ่าตัด, โรคอุบัติเหตุร้ายแรง
 การแพทย์ตะวันออกนั้นเป็นการแพทย์ที่เกิดจากประสบการณ์ ในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บโดยตัวมนุษย์เอง จากการลองผิดลองถูก (trial and error) ที่มีการปฏิบัติที่ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก แล้วค่อย ๆ สะสมเป็นบทเรียน และสรุปเป็นเกณฑ์ขึ้น วิธีการศึกษาแบบนี้เป็นแบบการศึกษาโดยทางตรง
  
-เน้นการรักษาทางยา
-การแพทย์แผนตะวันออก มองการรักษาแบบองค์รวม มองทั้งร่างกาย มองว่าทุกอวัยวะทุกส่วนในร่างกายสามารถทำให้เกิดโรคที่อวัยวะอื่นได้  เช่น ลมปราณ,เลือด,น้ำ เป็นต้น ไม่ยึดติดกับตำแหน่งที่เจ็บป่วย ไม่ยึดติดกับชื่อโรค แต่จะรักษาด้วยวิธีฟื้นฟูสุขภาพและปรับสภาพร่างกายโดยรวมให้ดีขึ้น

แพทย์แผนตะวันออกเช่นแผนจีนจะมองว่าเป็น หวัดเย็น, หวัดร้อน โดยมองว่าอวัยวะเช่น ปอด, ม้าม ล้วนทำให้เกิดอาการหวัดได้ทั้งสิ้น
  
ยาประกอบ
-ใช้ยาสมุนไพร




 
ยาสมุนไพรตัวเดียวมีส่วนประกอบของสารออกฤทธิ์จำนวนมาก มีกระบวนการเตรียมยา เพื่อการเสริมฤทธิ์ทำลายพิษ หรือปรับสภาพยาเพื่อเข้าสู่อวัยวะเป้าหมายต่างๆ ที่แน่นอน


โรคที่ยาแผนปัจจุบันรักษาไม่ได้ เช่นมะเร็ง หรือรักษาไม่หาย และอาการไม่สมดุลต่างๆ เช่น ร้อนภายใน หนาวสั่น โรคจากภูมิคุ้มกันต่างๆ ที่ต้องอาศัยอาหารสมุนไพรรักษา
3.ข้อดี
มีประสิทธิภาพในการรักษา ผู้ป่วยฉุกเฉิน, โรคที่มีอารรุนแรงเฉียบพลัน ทีต้องช่วยชีวิตอย่างเร่งด่วน ดีกว่าแผนตะวันออก เช่นการรักษาด้วยการผ่าตัด
สามารถบำบัดโรคได้ก่อนที่โรคจะแสดงอาการ มีผลกระทบข้างเคียงจากการรักษาน้อยกว่าแผนตะวันตก
4.ข้อเสีย
ความคิดในการป้องกันโรค "ในยามปกติที่ยังไม่เกิดโรคให้ระมัดระวังการปฏิบัติตัวให้ดี เมื่อเกิดโรคแล้วจึงรักษา ก็เปรียบเหมือนเมื่อกระหายน้ำแล้วจึงไปขุดบ่อ หรือเมื่อเกิดสงครามแล้วจึงค่อยสร้างอาวุธหรือวัวหายจึงล้อมคอก จะเป็นการแก้ปัญหามิใช่เป็นการป้องกัน" (เน่ยจิง)
-ศึกษาโดยอาศัยความรู้จากตำราหรือการเรียนสืบต่อกันมา ไม่ได้วิจัยโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เมื่อไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์มาอ้างอิงทำให้ไม่ได้รับการเชื่อถือเท่าที่ควร
-ผลการรักษาไม่แน่นอน บางคนรักษาหาย บางคนไม่หาย ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
-ระยะเวลาในการรักษาไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละบุคคล
     จากความแตกต่างของการแพทย์แผนตะวันออกและแผนตะวันตก จะเห็นว่าทั้งคู่ต่างมีข้อเด่นและข้อด้อยที่สามารถเสริมกันได้

อ่านเพิ่มเติม

ข่าว : การผสมผสานการแพทย์แผนตะวันตกและตะวันออก (Complementary and Alternative Medicine)
แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ประจำปีงบประมาณ 2554
ตามแผนยุทธศาสตร์ RAMA Scorecard ระดับคณะฯ ปีงบประมาณ 2552 - 2555
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
        สถานการณ์ปัจจุบันที่ทุกคนต้องเร่งรีบกับการทำงาน เพื่อแข่งขันกับเวลาและแข่งขันกับอีกหลายๆสิ่งในชีวิตประจำวัน ทำให้ประชาชนเจ็บป่วยมากขึ้นทั้งโรคที่เป็นเฉียบพลันและเรื้อรัง ในแต่ละปีต้องสูญเสียเงินทองไปกับการใช้ยาในการดูแลสุขภาพปีละมากมาย และพบว่า การใช้ยาและการรักษาแบบการแพทย์แผนตะวันตกอย่างเดียวมิได้เป็นการแก้ปัญหาสุขภาพได้ทั้งหมด ประชาชนจึงหันมาสนใจการแพทย์พื้นบ้านการแพทย์ท้องถิ่น ตลอดจนการดูแลสุขภาพแบบไม่ใช้ยาร่วมกันกับการดูแลสุขภาพตามแนวคิดตะวันตก เพื่อช่วยให้การดูแลสุขภาพฟื้นหายได้เร็วขึ้น จากแนวคิดที่ว่าไม่มีศาสตร์การแพทย์แผนใดในโลกนี้ ที่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ทุกโรค ทุกศาสตร์การแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์แผน ตะวันตก หรือแผนตะวันออกทุกศาสตร์ยังคงมีช่องว่าง ตรงนี้จึงเกิดแนวคิดว่า ทำอย่างไรเราจะเติมเต็มความสมบูรณ์ ในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม นั่นคือการผสมผสานทั้งการแพทย์แผนตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน ที่เรียกกันเป็นสากลในขณะนี้ว่า Complementary and Alternative Medicine
          ในปี คศ. 2004 Dr.Yoonhee Kim และ Hyang – Yeon Lee ซึ่งเป็นประธานของ
Korean Academy of Nursing ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นภูมิปัญญา
ท้องถิ่นของแต่ละประเทศในการประยุกต์สู่ปฏิบัติทางการพยาบาล จึงได้จัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยน
ความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของแต่ละประเทศ โดยมีการลงนามของ 5 ประเทศในเอเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนกันเป็นประเทศเจ้าภาพในการจัดงานทุก 2 ปี โดยประเทศเกาหลีใต้อาสาเป็นประเทศเจ้าภาพเป็นประเทศแรกในปี .. 2004 ตามด้วยประเทศจีน ในปี .. 2006 ประเทศญี่ปุ่นในปี .. 2008 ไต้หวันในปีค.. 2010 และประเทศไทยในปี .. 2012 ซึ่งในปี .. 2012 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพนี้ ถือเป็นปีที่ 10 ของการจัดประชุมทางด้าน Traditional Nursing in Asian- Pacific ที่ทางคณะกรรมการถือว่าเป็น Golden Year ที่จะให้นำเสนอต่อการเป็นสมาชิกของ International Council of Nursing (ICN)
         การดูแลสุขภาพที่เป็นการรักษาแบบไม่ใช้ยาที่ประชาชนนิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ การฝังเข็ม การใช้สมุนไพร การทำพลังบำบัด การนั่งสมาธิ ดนตรีบำบัด การทำโยคะ ฤาษีดัดตน และการนวดแบบต่างๆ เช่น การนวดกดจุดฝ่าเท้า การนวดกดจุดฝ่ามือ นวดแบบญี่ปุ่น นวดทุยนาแบบจีน การทำกัวซา การใช้ถ้วยสูญญากาศ การรมควันด้วยโกฏจุฬารัมภาในการลดปวด บรรเทาอาการเคล็ดขัดยอกตามกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ ตลอดจนการทำดีท็อกสิฝิเคชั่น ขจัดสารพิษตามแนวคิดของการแพทย์อายุรเวท เป็นต้น ซึ่งการรักษาเหล่านี้เป็นแนวคิดการรักษาแบบแพทย์แผนตะวันออกที่แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย เมื่อประชาชนใช้ร่วมกับการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้ในการรักษาเหล่านั้น เพราะบางครั้งเมื่อใช้แบบผสมผสานอาจให้ทั้งผลดีและผลเสียในเวลาเดียวกัน เมื่อบุคลากรทางการแพทย์มีความรู้ทั้งสองแนวคิดของการรักษา จะสามารถเป็นที่พึ่งและให้คำแนะนำ เพื่อการตัดสินใจเลือกใช้แก่ประชาชนต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดให้มีการประชุมวิชาการนานาชาติเรื่อง The 5th Asia-Pacific International Conference on Complementary Nursing เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความ รู้ทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระหว่างอาจารย์พยาบาลและบุคลากรพยาบาลทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้จะเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยโรคเฉียบพลัน และเรื้อรังรวมทั้งครอบครัว ให้สามารถประยุกต์ความรู้ แนวคิด ทฤษฎีทางการแพทย์แบบผสมผสาน ทักษะการพยาบาลและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติได้ รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายการพยาบาลแบบผสมผสานทั้งภายในและระหว่างประเทศ นำไปสู่ความร่วมมือในการปฏิบัติงานและทำวิจัยเรื่องการดูแลผู้ป่วยต่อไปใน อนาคต

ที่มา : www.thaicam.go.th

No comments:

Post a Comment