May 3, 2012

Chemistry Syllabus ปี1 เทอม1

เนื้อหารายวิชา
       ปริมาณสัมพันธ์ แก๊ส ของเหลวและสารละลาย ของแข็ง โครงสร้างอะตอม พันธะเคมี ตาราง
ธาตุ อุณหพลศาสตร์ จลนพลศาสตร์เคมี
1.ปริมาณสารสัมพันธ์
       -ระบบการวัด การคำนวณเกี่ยวกับตัวเลขและปริมาณ วิธีการตัดหน่วย สูตรเคมี สูตรโมเลกุล สูตรอย่างง่าย และเปอร์เซ็นต์องค์ประกอบ
       -การเรียกชื่อสารประกอบ สมการเคมี มวลสารสัมพันธ์ในการคำนวณที่เกี่ยวกับปริมาณในของผสม
       -ปริมาณสารสัมพันธ์ในสารละลาย การคำนวณปริมาณของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ สารกำหนดปริมาณ ผลผลิตของปฏิกิริยา
2.แก๊ส
       -สมบัติทั่วไปและสมการของแก๊ส สารที่อยู่ในรูปแก๊สความดันของแก๊ส
       -กฎของแก๊ส สมการแก๊สในอุดมคติ การแจกแจงความเร็วโมเลกุล
       -ปริมาณสารสัมพันธ์ในแก๊ส ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส พฤติกรรมของแก๊สจริง 
3.ของเหลวและสารละลาย
       -แรงกระทำระหว่างโมเลกุลของของเหลว สมบัติทั่วไปของของเหลว ชนิดของสารละลาย การละลายและความเข้มข้นของสารละลาย
       -ผลของอุณหภูมิที่มีต่อการละลาย ผลของความดันที่มีต่อการละลาย สารละลายอุดมคติและสารละลายนอกอุดมคติ
       -สมบัติคอลลิเกตีฟ คอลลอยด์
4.โครงสร้างอะตอม
       -ทฤษฎีอะตอม โครงสร้างของอะตอม
       -ทฤษฎีควอนตัม ทฤษฎีของบอร์สำหรับไฮโดรเจนอะตอม ทฤษฎีกลศาสตร์คลื่น สมมุติฐานเดอ
บรอยด์
       -หลักความไม่แน่นนอนของไฮเซนเบิร์ก อะตอมมิกออร์บิทัล ระดับพลังงานของอะตอมมิกออร์บิทัลต่างๆ
       -การจัดอิเล็กตรอนของอะตอม ตารางธาตุและการจัดอิเล็กตรอนของธาตุ
5.โครงสร้างของแข็ง 
       -แรงกระทำระหว่างโมเลกุลของของแข็ง แรงกระทำระหว่างโมเลกุล
       -สมบัติทั่วไปของของแข็ง โครงสร้างผลึก ชนิดของผลึก
       -โครงสร้างแบบชิดกันและโครงสร้างของเกลือ
       -โครงสร้างของเกลือ (ต่อ)
       -ความไม่สมบูรณ์ของผลึก การเปลี่ยนสถานะ เฟสไดอะแกรม
6.พันธะเคมี
       -บทนำ: ลักษณะร่วมของพันธะเคมี, ค่า EN กับพันธะเคมี, พันธะโควาเลนต์
       -ค่าเลขออกซิเดชัน และประจุฟอร์มอล, การเขียนโครงสร้างโมเลกุลโควาเลนต์
       -ทฤษฎี VSEPR, มุมพันธะ ความยาวพันธะ
       -ทฤษฎีออร์บิทอลลูกผสม, การผสมของออร์บิทอล s และ p
       -การผสมกันของออร์บิทอลลูกผสม (orbital mixing), การผสมของออร์บิทอล s, p และ d
       -ทฤษฎีออร์บิทอลเชิงโมเลกุล
       -แรงแวนเดอร์วาลล์, พันธะไฮโดรเจน, แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแบบอ่อน
       -พันธะโลหะกับออร์บิทอลเชิงโมเลกุล, โลหะ อโลหะ และสารกึ่งตัวนำ
       -แผนภาพวัฏภาค, การเปลยี่ นสถานะของสสาร, ของไหลวิกฤตยิ่งยวด (SCF)
7.ตารางธาตุและสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ
       -ขนาดอะตอม, ค่า IE, EA และ EN
8.เทอร์โมเคมี
       -ระบบและสิ่งแวดล้อม, พลังงานกลและพลังงานภายใน, State function และ path function, กฎข้อที่ 1 ของเทอร์โมไดนามิกส์, ความร้อนและงาน
       -การเปลี่ยนแปลงความร้อนและอุณหภูมิ, ความจุความร้อน, การคำนวณความร้อนและงาน, บอมบ์แคลอริมิเตอร์
       -เอนทาลปีและการคำนวณเอนทาลปี , แคลอริมิเตอร์, กฎของเฮสส์
9.เทอร์โมไดนามิกส์
       -ปฏิกิริยาทีเกิดขึ้นเองได้, เอนโทรปีและความน่าจะเป็น, กฎข้อที่ 2 ของเทอร์โมไดนามิกส์
       -กฎข้อที่ 3 ของเทอร์โมไดนามิกส์, เอนโทรปีและอุณหภูมิ, การคำนวณเอนโทรปี,
การเปลี่ยนแปลงเอนโทรปีในกระบวนการอัดและขยาย, การดูดและคายความร้อน
       -พลังงานเสรีของกิบส์, การคำนวณพลังงานเสรีของกิบส์และค่าคงที่สมดุล
10.จลนศาสตร์เคมี
       -การคำนวณอัตราการเกิดปฏิกิริยา, ความสัมพันธ์ระหว่างค่าคงที่อัตราและค่าคงที่สมดุล, อันดับของปฏิกิริยา
       -การอินทิกรัลอัตรา, อัตราการสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสี
       -อิทธิพลของอุณหภูมิต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา, พลังงานกระตุ้น , ทฤษฎีการชน, ตัวเร่งปฏิกิริยา
       -อันดับของปฏิกิริยาและกลไลการเกิดปฏิกิริยา, สมการอัตราการเกิดปฏิกิริยาหลายขั้นตอน

11.สมดุลเคมี
       -ความหมายของสมดุลเคมี ค่าคงที่สมดุล สมดุลของปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ การคำนวณค่าคงที่สมดุล การนำค่าคงที่สมดุลไปใช้งาน หลักของเลอชาเตอริเย
12.สมดุลกรด-เบสและสมดุลการละลาย
       -ทฤษฎีกรด-เบสของเบิร์นสเตท-ลาวรี การแตกตัวของน้ำ กรดแก่-เบสแก่ กรดอ่อน-เบสอ่อน ความสัมพันธ์ระหว่างค่า Ka และ Kb ความเป็นกรดและเบสของสารละลายเกลือ ปัจจัยที่มีผลต่อความความเป็นกรด-เบส ปรากฏการณ์ไอออนร่วม สารละลายบัฟเฟอร์ การไทเทรตกรด-เบส สมดุลการละลาย ปัจจัยที่มีผลต่อการละลาย

13.ไฟฟ้าเคมี
       -ปฏิกิริยารีดอกซ์ เซลล์ไฟฟ้าเคมี ศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ ความสัมพันธ์ของศักย์ไฟฟ้า
เคมีกับสมบัติทางเทอร์โมไดนามิกส์ แบตเตอรี การสึกกร่อน อิเล็กโทรลิซิส

14.สารประกอบโคออร์ดิเนชัน
       -สมบัติของโลหะแทรนซิชัน สารประกอบโคออร์ดิเนชัน เลขโคออร์ดิเนชัน ลิแกนด์
       -การเรียกชื่อสารประกอบโคออร์ดิเนชัน ไอโซเมอร์ของสารประกอบโคออร์ดิเนชัน ทฤษฎีเกี่ยวกับสารประกอบโคออร์ดิเนชัน

15.เคมีนิวเคลียร์
       -ปฏิกิริยานิวเคลียร์ เสถียรภาพของนิวเคลียส กัมมันตภาพรังสี อัตราการเกิดปฏิกิริยา
นิวเคลียร์ พลังงานนิวเคลียร์

No comments:

Post a Comment