May 11, 2012

บทบาทของแพทย์แผนไทยในการรักษาผู้ป่วยในปัจจุบัน

ท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย การแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์แผนตะวันตก มีบทบาทสำคัญในการนำมาใช้ดูแลสุขภาพคนทั่วโลก ด้วยการแบ่งส่วนศึกษาความเป็นไปของชีวิตและร่างกายของมนุษย์อย่างละเอียด  ได้แก่การศึกษาอวัยวะของมนุษย์อย่างละเอียดทั้งลักษณะและการทำงาน ทำให้พบสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาความเจ็บป่วยด้วยการประกาศกำจัดศัตรูของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าและทำลายล้างเชื้อโรคผู้รุกรานหรือการกำจัดเนื้องอกและสิ่งแปลกปลอมในร่างกายแม้แต่ปัญหาทางจิตใจก็ฝากไว้กับผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะร่างกายของมนุษย์จึงถูกแยกออกเป็นส่วนๆเพื่อพึ่งพิงแพทย์เฉพาะทางผู้ซึ่งแสวงหาความเป็นเลิศในการรักษาเฉพาะโรค จนลืมไปว่ากำลังรักษาคนทั้งตัวและหัวใจมิได้รักษาโรคภัยไข้เจ็บเพียงอย่างเดียว

เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าการแพทย์แผนปัจจุบันสามารถแก้ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่ยากและร้ายแรงได้อย่างดีเยี่ยม เช่น การติดเชื้อรุนแรง การผ่าตัด การเปลี่ยนอวัยวะ แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนไทยอีกจำนวนมากกำลังแสวงหาทางเลือกในการดูแลสุขภาพใหม่ที่ประหยัดปลอดภัยและมีคนไทยอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังยึดมั่นในพิธีกรรมเพื่อสุขภาพ เช่น การบวงสรวง การใช้เวทมนต์ ทำให้มีคำถามอยู่เสมอว่าทำไมจึงต้องแสวงหาทางเลือกใหม่ ทั้งๆที่การแพทย์แผนปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก คำตอบคือความเป็นการแพทย์องค์รวมได้สูญหายไปด้วยระบบแยกส่วนศึกษาและระบบผู้เชี่ยวชาญ ทำให้แพทย์ดูแลเฉพาะเรื่องที่ตนศึกษาเท่านั้น ดังนั้น จึงพบเสมอว่าการรักษาโรคหรือกำจัดเชื้อโรคประสบความสำเร็จแต่ผู้ป่วยต้องทุกข์ทรมานจากความพิการทั้งทางร่างกายและจิตใจ จากภาวะแทรกซ้อนของโรคและจากโรคหมอทำ แม้บ่อยครั้งที่แพทย์แผนปัจจุบันพยายามที่จะนำความเป็นองค์รวมกลับคืนมา  ด้วยการให้ความสำคัญแก้ปัญหาผู้ป่วยเบ็ดเสร็จทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงสิ่งแวดล้อม แต่น่าเสียดายที่การให้บริการเช่นนั้นมิอาจทำได้เต็มที่ เพราะขาดแคลนแพทย์ อีกทั้งการแยกส่วนและแบ่งหน้าที่ดูแลเฉพาะทางมากเกินไปจนยากที่จะรวมแนวคิดกลับคืนมา

 ปัจจุบันคนทั่วโลกหันมาสนใจการใช้สมุนไพรและดูแลสุขภาพก่อนเกิดอาการกันมากขึ้น องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้การแพทย์ทั้งสองแผนคู่ขนานกันไปในการแพทย์แห่งชาติของแต่ละประเทศ เนื่องจากการดูแลก่อนเกิดอาการย่อมดีกว่าเกิดอาการแล้ว ทั่วโลกจึงได้ส่งเสริมให้มีการแพทย์ดั้งเดิมของแต่ละประเทศโดยมีการสนับสนุนเชิงนโยบายจากรัฐ นอกจากนี้การแพทย์แผนโบราณเป็นการแพทย์ที่ไม่แพง ประหยัดงบประมาณ การเสียดุลของรัฐในการนำเข้ายา สมุนไพรหาได้ในท้องถิ่น ไม่จำเป็นต้องหาซื้อ จึงเหมาะกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีนักในปัจจุบัน

                ในประเทศไทย ยาสมุนไพรทั้งแผนโบราณรูปแบบยาตำรับและรูปแบบสมุนไพรเดี่ยว ได้รับการคัดเลือกเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติโดยกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเลือกใช้ยาแผนไทยมากขึ้น นอกจากนี้หากเป็นการรักษาอาการพื้นฐาน ได้แก่ ท้องเสีย ท้องร่วง ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ โรคผิวหนัง ได้มีประกาศเป็นยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน 67ชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติในการรักษาอาการได้เทียบเท่ายาแผนปัจจุบัน

            อาการและโรคที่ยังต้องอาศัยการแพทย์แผนไทยเพื่อเป็นการรักษา สามารถเพิ่มกำลังใจแก่ผู้ป่วยได้ดีกว่าการรักษาแบบตะวันตก เช่น การรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยติดยาเสพติด โรคมะเร็ง และอาการที่ไม่อาจเยียวยาด้วยยาแผนปัจจุบันได้แก่ โรคลม จำพวกที่ใช้ยาหอม ยาลม การอยู่ไฟ แบบดั้งเดิม ช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงและหายเร็วขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามการรักษาแบบแพทย์แผนไทยยังคงมีข้อด้อยอยู่  เช่น
    1.โรคบางชนิด ต้องใช้การแพทย์แผนปัจจุบัน เช่นโรคหัวใจ โรคที่ต้องผ่าตัด เช่น ไส้ติ่ง หรืออุบัติเหตุ ฉุกเฉิน
    2.โรคเรื้อรัง ร้ายแรง ที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใช้สมุนไพรรักษาได้ โรคสุนัขบ้ากัด บาดทะยัก
    3.การนำมาใช้ ต้องถูกต้อง คือถูกต้น ถูกส่วน ถูกวิธี ถูกขนาด และถูกโรค บางชนิดเป็นยาที่มีอันตราย 
    4.ประชาชนที่ด้อยโอกาสเข้าถึงความรู้ มักถูกหลอกลวงง่าย ในเรื่องสรรพคุณของยาแผนโบราณ ที่โฆษณาเกินความจริง

อ่านเพิ่มเติม

ข้อแตกต่างระหว่าง แพทย์แผนไทย - แพทย์แผนไทยประยุกต์

              การแพทย์แผนไทย หรือ การแพทย์แผนโบราณ เป็นความพยายามจะอธิบายภาวะต่างๆที่เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ(เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่างๆในร่างกายเข้ามาอธิบาย ผสมผสานองค์ความรู้จากอินเดีย พุทธศาสนา และองค์ความรู้ที่เราพัฒนาขึ้นมาเอง โดยบรมครูการแพทย์แผนไทย คือ ท่านชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำตัวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง
              การแพทย์แผนไทยอาจจะไม่มีองค์ความรู้ด้านกลไกการเกิดโรค และเทคนิคทางศัลยกรรมมากนัก แต่ต้องมีองค์ความรู้ด้านกลวิธีทางคลินิก เช่น การซักประวัติ และการรักษาด้วยยา เพียงแต่ขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ทางคลินิก (Evidence-based clinical knowledge) ซึ่งก็มาจากกฎข้อบังคับตามใบอนุาตประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ที่ว่า "มิให้แพทย์แผนไทยกระทำการอันเป็นวิทยาศาสตร์ใด ๆ" นั่นเอง ทำให้ไม่สามารถมีการตั้งสมมุติฐานและวิจัยได้อย่างเต็มที่

         แพทย์แผนไทยประยุกต์ คือ บุคลากรทางการแพทย์สาขาหนึ่ง เกิดขึ้นจากแนวคิดของ นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ ที่ต้องการพัฒนาและยกฐานะของการแพทย์แผนไทยโบราณของไทยเราให้มีความเป็น วิทยาศาสตร์และมีหลักวิชาการรองรับในการอธิบาย อาจกล่าวได้ว่า แพทย์แผนไทยประยุกต์เป็นบุคลากรการแพทย์สายพันธุ์ใหม่ของสังคมไทย ที่ครึ่งหนึ่งขององค์ความรู้ต้องร่ำเรียนหลักวิชาการทางการแพทย์แผนตะวันตก สามารถใช้เครื่องมือทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้บางอย่าง(ตามที่ข้อกฎหมายกำหนด) สามารถวินิจฉัยตามหลักการแพทย์ เพียงแต่เมื่อถึงขั้นตอนในการรักษานั้น ต้องรักษาด้วยยาแผนไทยเท่านั้น นอกจากนั้น ยังสามารถทำคลอดและให้การบำรุงแม่และทารก ตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
         แพทย์แผนไทยประยุกต์ ต้องสอบใบอนุาตประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยเฉพาะเสียก่อน จึงสามารถปฏิบัติงานในโรงพยาบาล หรือให้การรักษาแก่ผู้ป่วยได้ การสอบใบประกอบโรคศิลปะนั้น จะต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์เท่านั้นจึงจะเป็นแพทย์ แผนไทยประยุกต์ที่สมบูรณ์และถูกต้อง

           สรุป การแพทย์แผนไทย กับ การแพทย์แผนไทยประยุกต์ นั้นมีความแตกต่างกันชัดเจน คือ การแพทย์แผนไทย เน้นการวินิจฉัย การรักษา และการจ่ายยา ด้วยหลักการของการแพทย์แผนไทย และจ่ายยาด้วยสมุนไพร เพียงแต่มีข้อจำกัดในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบตะวันตก ซึ่งต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะเช่นเดียวกัน แต่ขึ้นทะเบียนกันคนละประเภทกัน

ที่มา : http://blog.eduzones.com/diaw30/23916

History of Medicine : ความแตกต่างระหว่างแพทย์แผนตะวันตกและแพทย์แผนตะวันออก

  • การแพทย์แผนตะวันตก ได้แก่ การแพทย์กรีก , การแพทย์อาหรับ เป็นต้น
  • การแพทย์แผนตะวันออก ได้แก่ การแพทย์ในภูมิภาคเอเชีย เช่น การแพทย์แผนจีน ,การแพทย์แผนไทย, การแพทย์แผนอายุรเวทของอินเดีย , การแพทย์แผนธิเบต เป็นต้น 

         การแพทย์ในสมัยโบราณจะมีลักษณะพิเศษ คือ ใช้วิธีการบำบัดรักษาด้วยตัวยาที่ปรุงขึ้นจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ ตลอดจนการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆด้วยการนวดกดจุดและศาสตร์แห่งพลังต่างๆ เช่น ชี่กง, การฝึกพลังภายใน และศาสตร์ว่าด้วยจักระในร่างกาย เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างแพทย์แผนตะวันตกและแพทย์แผนตะวันออก
ความแตกต่าง
แพทย์แผนตะวันตก
แพทย์แผนตะวันออก
1.แนวคิดการเกิดโรค
-เกิดเฉพาะจุด เช่น การเสียหน้าที่ของอวัยวะ การติดเชื้อโรค เป็นต้น
-มีการตั้งทฤษฎีที่ว่า จุลินทรีย์เป็นต้นตอให้เกิดโรคได้ (Louis Pasteur & Robert Koch)
ธาตุในร่างกายไม่สมดุลกับสิ่งแวดล้อม
(เน่ยจิง : "ร่างกายไม่สามารถประสานกลมกลืนกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมก็จะทำให้เกิดโรค จะเห็นได้ว่าโรคนั้นเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของชีวิต ไม่ใช่สิ่งลี้ลับอะไรเลย")
2.วิวัฒนาการความรู้ทางการแพทย์







การรักษา











ยกตัวอย่าง เช่น การรักษาอาการการหวัด



ตัวยา






การออกฤทธิ์ของยา





 
โรคที่เหมาะแก่การรักษา
 การแพทย์ตะวันตกนั้น เป็นผลจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ จากการทดลองกับสัตว์ เช่น หนู กระต่าย ลิง เป็นต้น แล้วนำผลสรุปจากการทดลองในสัตว์มาใช้กับมนุษย์ (ซึ่งมีคุณภาพต่างจากสัตว์) เป็นการศึกษาโดยทางอ้อม



-เน้นทางศัลยกรรม
-การแพทย์แผนตะวันตก รักษาเฉพาะจุด เฉพาะอวัยวะบริเวณที่เกิดโรค ,รักษาตามชื่อโรค








แพทย์แผนตะวันตกจะมองว่าโรคเกี่ยวกับปอดและจะมุ่งรักษาปอดเพียงอย่างเดียว

  
ยาเดี่ยว
-แบบเคมีสังเคราะห์
-แบบเคมีทางพฤกษศาสตร์(สารเคมีที่สกัดจากพืชธรรมชาติ)


การเน้นรักษาโรคด้วยยาเดี่ยวหรือสารสกัดจากสมุนไพรล้วนๆ  ซึ่งการออกฤทธิ์ของยาจะไม่จำเพาะเจาะจงต่ออวัยวะเป้าหมาย
 


โรคที่ใช้การผ่าตัด, โรคอุบัติเหตุร้ายแรง
 การแพทย์ตะวันออกนั้นเป็นการแพทย์ที่เกิดจากประสบการณ์ ในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บโดยตัวมนุษย์เอง จากการลองผิดลองถูก (trial and error) ที่มีการปฏิบัติที่ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก แล้วค่อย ๆ สะสมเป็นบทเรียน และสรุปเป็นเกณฑ์ขึ้น วิธีการศึกษาแบบนี้เป็นแบบการศึกษาโดยทางตรง
  
-เน้นการรักษาทางยา
-การแพทย์แผนตะวันออก มองการรักษาแบบองค์รวม มองทั้งร่างกาย มองว่าทุกอวัยวะทุกส่วนในร่างกายสามารถทำให้เกิดโรคที่อวัยวะอื่นได้  เช่น ลมปราณ,เลือด,น้ำ เป็นต้น ไม่ยึดติดกับตำแหน่งที่เจ็บป่วย ไม่ยึดติดกับชื่อโรค แต่จะรักษาด้วยวิธีฟื้นฟูสุขภาพและปรับสภาพร่างกายโดยรวมให้ดีขึ้น

แพทย์แผนตะวันออกเช่นแผนจีนจะมองว่าเป็น หวัดเย็น, หวัดร้อน โดยมองว่าอวัยวะเช่น ปอด, ม้าม ล้วนทำให้เกิดอาการหวัดได้ทั้งสิ้น
  
ยาประกอบ
-ใช้ยาสมุนไพร




 
ยาสมุนไพรตัวเดียวมีส่วนประกอบของสารออกฤทธิ์จำนวนมาก มีกระบวนการเตรียมยา เพื่อการเสริมฤทธิ์ทำลายพิษ หรือปรับสภาพยาเพื่อเข้าสู่อวัยวะเป้าหมายต่างๆ ที่แน่นอน


โรคที่ยาแผนปัจจุบันรักษาไม่ได้ เช่นมะเร็ง หรือรักษาไม่หาย และอาการไม่สมดุลต่างๆ เช่น ร้อนภายใน หนาวสั่น โรคจากภูมิคุ้มกันต่างๆ ที่ต้องอาศัยอาหารสมุนไพรรักษา
3.ข้อดี
มีประสิทธิภาพในการรักษา ผู้ป่วยฉุกเฉิน, โรคที่มีอารรุนแรงเฉียบพลัน ทีต้องช่วยชีวิตอย่างเร่งด่วน ดีกว่าแผนตะวันออก เช่นการรักษาด้วยการผ่าตัด
สามารถบำบัดโรคได้ก่อนที่โรคจะแสดงอาการ มีผลกระทบข้างเคียงจากการรักษาน้อยกว่าแผนตะวันตก
4.ข้อเสีย
ความคิดในการป้องกันโรค "ในยามปกติที่ยังไม่เกิดโรคให้ระมัดระวังการปฏิบัติตัวให้ดี เมื่อเกิดโรคแล้วจึงรักษา ก็เปรียบเหมือนเมื่อกระหายน้ำแล้วจึงไปขุดบ่อ หรือเมื่อเกิดสงครามแล้วจึงค่อยสร้างอาวุธหรือวัวหายจึงล้อมคอก จะเป็นการแก้ปัญหามิใช่เป็นการป้องกัน" (เน่ยจิง)
-ศึกษาโดยอาศัยความรู้จากตำราหรือการเรียนสืบต่อกันมา ไม่ได้วิจัยโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เมื่อไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์มาอ้างอิงทำให้ไม่ได้รับการเชื่อถือเท่าที่ควร
-ผลการรักษาไม่แน่นอน บางคนรักษาหาย บางคนไม่หาย ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
-ระยะเวลาในการรักษาไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละบุคคล
     จากความแตกต่างของการแพทย์แผนตะวันออกและแผนตะวันตก จะเห็นว่าทั้งคู่ต่างมีข้อเด่นและข้อด้อยที่สามารถเสริมกันได้

อ่านเพิ่มเติม

ข่าว : การผสมผสานการแพทย์แผนตะวันตกและตะวันออก (Complementary and Alternative Medicine)
แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ประจำปีงบประมาณ 2554
ตามแผนยุทธศาสตร์ RAMA Scorecard ระดับคณะฯ ปีงบประมาณ 2552 - 2555
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
        สถานการณ์ปัจจุบันที่ทุกคนต้องเร่งรีบกับการทำงาน เพื่อแข่งขันกับเวลาและแข่งขันกับอีกหลายๆสิ่งในชีวิตประจำวัน ทำให้ประชาชนเจ็บป่วยมากขึ้นทั้งโรคที่เป็นเฉียบพลันและเรื้อรัง ในแต่ละปีต้องสูญเสียเงินทองไปกับการใช้ยาในการดูแลสุขภาพปีละมากมาย และพบว่า การใช้ยาและการรักษาแบบการแพทย์แผนตะวันตกอย่างเดียวมิได้เป็นการแก้ปัญหาสุขภาพได้ทั้งหมด ประชาชนจึงหันมาสนใจการแพทย์พื้นบ้านการแพทย์ท้องถิ่น ตลอดจนการดูแลสุขภาพแบบไม่ใช้ยาร่วมกันกับการดูแลสุขภาพตามแนวคิดตะวันตก เพื่อช่วยให้การดูแลสุขภาพฟื้นหายได้เร็วขึ้น จากแนวคิดที่ว่าไม่มีศาสตร์การแพทย์แผนใดในโลกนี้ ที่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ทุกโรค ทุกศาสตร์การแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์แผน ตะวันตก หรือแผนตะวันออกทุกศาสตร์ยังคงมีช่องว่าง ตรงนี้จึงเกิดแนวคิดว่า ทำอย่างไรเราจะเติมเต็มความสมบูรณ์ ในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม นั่นคือการผสมผสานทั้งการแพทย์แผนตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน ที่เรียกกันเป็นสากลในขณะนี้ว่า Complementary and Alternative Medicine
          ในปี คศ. 2004 Dr.Yoonhee Kim และ Hyang – Yeon Lee ซึ่งเป็นประธานของ
Korean Academy of Nursing ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นภูมิปัญญา
ท้องถิ่นของแต่ละประเทศในการประยุกต์สู่ปฏิบัติทางการพยาบาล จึงได้จัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยน
ความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของแต่ละประเทศ โดยมีการลงนามของ 5 ประเทศในเอเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนกันเป็นประเทศเจ้าภาพในการจัดงานทุก 2 ปี โดยประเทศเกาหลีใต้อาสาเป็นประเทศเจ้าภาพเป็นประเทศแรกในปี .. 2004 ตามด้วยประเทศจีน ในปี .. 2006 ประเทศญี่ปุ่นในปี .. 2008 ไต้หวันในปีค.. 2010 และประเทศไทยในปี .. 2012 ซึ่งในปี .. 2012 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพนี้ ถือเป็นปีที่ 10 ของการจัดประชุมทางด้าน Traditional Nursing in Asian- Pacific ที่ทางคณะกรรมการถือว่าเป็น Golden Year ที่จะให้นำเสนอต่อการเป็นสมาชิกของ International Council of Nursing (ICN)
         การดูแลสุขภาพที่เป็นการรักษาแบบไม่ใช้ยาที่ประชาชนนิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ การฝังเข็ม การใช้สมุนไพร การทำพลังบำบัด การนั่งสมาธิ ดนตรีบำบัด การทำโยคะ ฤาษีดัดตน และการนวดแบบต่างๆ เช่น การนวดกดจุดฝ่าเท้า การนวดกดจุดฝ่ามือ นวดแบบญี่ปุ่น นวดทุยนาแบบจีน การทำกัวซา การใช้ถ้วยสูญญากาศ การรมควันด้วยโกฏจุฬารัมภาในการลดปวด บรรเทาอาการเคล็ดขัดยอกตามกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ ตลอดจนการทำดีท็อกสิฝิเคชั่น ขจัดสารพิษตามแนวคิดของการแพทย์อายุรเวท เป็นต้น ซึ่งการรักษาเหล่านี้เป็นแนวคิดการรักษาแบบแพทย์แผนตะวันออกที่แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย เมื่อประชาชนใช้ร่วมกับการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้ในการรักษาเหล่านั้น เพราะบางครั้งเมื่อใช้แบบผสมผสานอาจให้ทั้งผลดีและผลเสียในเวลาเดียวกัน เมื่อบุคลากรทางการแพทย์มีความรู้ทั้งสองแนวคิดของการรักษา จะสามารถเป็นที่พึ่งและให้คำแนะนำ เพื่อการตัดสินใจเลือกใช้แก่ประชาชนต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดให้มีการประชุมวิชาการนานาชาติเรื่อง The 5th Asia-Pacific International Conference on Complementary Nursing เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความ รู้ทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระหว่างอาจารย์พยาบาลและบุคลากรพยาบาลทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้จะเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยโรคเฉียบพลัน และเรื้อรังรวมทั้งครอบครัว ให้สามารถประยุกต์ความรู้ แนวคิด ทฤษฎีทางการแพทย์แบบผสมผสาน ทักษะการพยาบาลและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติได้ รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายการพยาบาลแบบผสมผสานทั้งภายในและระหว่างประเทศ นำไปสู่ความร่วมมือในการปฏิบัติงานและทำวิจัยเรื่องการดูแลผู้ป่วยต่อไปใน อนาคต

ที่มา : www.thaicam.go.th

CELL BIOLOGY FOR MEDICAL STUDENTS เซลล์ชีววิทยาสำหรับนิสิตแพทย์ ปี1

CourseSyllabus:http://biochem.md.chula.ac.th/Data/PDF%20files/Course%20Syllabus%20CBMS%202011-24NOV11.pdf
จะมีทั้งทบทวนเนื้อหา ม.ปลาย แล้วก็มีเรื่องใหม่เพิ่มขึ้นมาด้วย สำหรับเรื่องที่ต้องอ่านเยอะหน่อยคือ Animal Tissue เนื้อหาทั้งหมด ได้แก่

Epithelial
Muscle
Connective
Nerve
Blood
A brief introduction to the major types of animal tissues
  • 1. Epithelial
  • 2. Muscle
  • 3. Connective
    • Supporting connective tissue
    • Dense connective tissue
    • Loose connective tissue
    • Adipose tissue
  • 4. Nerve
    • Neurons
    • Glia
  • 5. Blood
ถ้าถนัดอ่านภาษาอังกฤษแนะนำลิ้งค์นี้เลยค่ะhttp://users.rcn.com/jkimball.ma.ultranet/BiologyPages/A/AnimalTissues.html#epithelial เพราะเนื้อหาสรุปเป็นขั้นตอน เข้าใจง่าย
สำหรับเนื้อหาภาษาไทยก็ตามนี้ค่ะ http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ap-biology1/Chapter4/index.htm

Epithelial
  • โครงสร้างของเนื้อเยื่อบุผิว (Structure of the Epithelial tissue)
       เนื้อเยื่อบุผิวประกอบด้วยกลุ่มเซลล์จำนวนมากที่เรียงตัวชิดติดกัน เป็นแถวเพียงชั้นเดียวหรืออาจจะซ้อนกันหลายชั้น พื้นผิวทางด้านบนของเซลล์มักอยู่เป็นอิสระไม่ยึดติดกับอะไร ส่วนด้านข้างเซลล์เหล่านั้นจะยึดติดกันด้วยโครงสร้างที่เรียกว่า Junctional complex ทำให้ระหว่างเซลล์ (intercellular space) มีช่องว่างเหลืออยู่น้อย เนื้อเยื่อบุผิวจะดาดอยู่ทั่วพื้นผิวของอวัยวะต่างๆของร่างกาย รวมทั้งช่อง (cavities) และท่อ (tubes) ต่างๆ และถูกค้ำจุนด้วย basement membrane (basal lamina) ซึ่งเป็นชั้นที่มีลักษณะคล้ายวุ้นและมีเส้นใยร่างแห ทำหน้าที่ในการยึดเนื้อเยื่อบุผิวไว้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ด้านล่าง เนื้อเยื่อบุผิวจะไม่มีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยง สารอาหารต่างๆที่ได้จึงมาจากการแพร่ของหลอดเลือดฝอยที่อยู่ในชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทางด้านล่าง

  • หน้าที่ของเนื้อเยื่อบุผิว (Function of the Epithelial tissue)
1. Protection คือ ป้องกันสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ไม่ให้เข้าไปส่วนลึกของเนื้อเยื่อ และป้องกันอวัยวะต่างๆ ไม่ให้เกิดการฉีกขาดจากการเสียดสี เช่น ผิวหนัง เยื่อบุหลอดเลือด เป็นต้น)
2. Absorption คือ ความสามารถในการดูดซึมสารต่างๆ เช่น เยื่อบุผิวในลำไส้ ปอดและไต
3. Lubication ความสามารถในการสร้างสารหล่อลื่นหรือสารเมือก เพื่อลดการเสียดสีของอวัยวะต่างๆ เช่น สารเมือกที่สร้างขึ้นโดยเซลล์เยื่อบุผิวของทางเดินอาหาร
4. Secretion คือ ความสามารถในการสร้างและคัดหลั่งสารต่างๆเช่น ฮอร์โมน เอนไซม์
5. Excretion คือ ความสามารถในการแยกและขับเอาของเสียทิ้ง เช่น เหงื่อ ปัสสาวะ
6. Sensation คือ ความสามารถในการรับความรู้สึก เช่น เซลล์รับรส และเซลล์รับกลิ่น
7. Reproduction คือ ความสามารถในการสร้างหรือเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์สืบพันธุ์ เช่น เซลล์เยื่อบุผิวในรังไข่และ seminiferous tubule ของอัณฑะ

  • การแบ่งประเภทของเนื้อเยื่อบุผิว (Classification of the Epithelial tissue)
แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ คือ
       1. Covering and lining epithelium ประกอบ ด้วยเซลล์ที่เรียงตัวซ้อนกันเป็นชั้นๆ คลุมอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกายทั้งภายในและภายนอก เช่น ดาดอยู่บนผิวหนังของร่างกายอวัยวะที่เป็นท่อ เช่น หลอดเลือด หลอดอาหาร หลอดลม ฯลฯ หรือดาดอยู่ภายในช่องต่างๆ เช่น ช่องอก ช่องท้อง ฯลฯ เนื้อเยื่อบุผิวพวกนี้จะไม่มีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยง

       2. Glandular epithelium ประกอบด้วยเซลล์ที่รวมตัวกันเพื่อทำหน้าที่พิเศษ พบบริเวณส่วนลึกในเนื้อเยื่อต่างๆ มักทำหน้าที่ในการสร้างและคัดหลั่งสาร (secretion) เช่น ฮอร์โมน (hormone), ไขมัน (lipid) ฯลฯ

  • 1. Covering and lining epithelium
การจำแนกชนิด (Classification of Covering and lining epithelial) อาศัยหลัก 3 ประการ คือ 
       1. แบ่งตามจำนวนชั้นของเซลล์ที่มาเรียงประกอบกันเป็นเนื้อเยื่อบุผิว
            1.1 Simple type หมายถึง การเรียงตัวของเซลล์เพียงชั้นเดียว
            1.2 Stratified type หมายถึงการเรียงตัวของเซลล์มากกว่า 2 ชั้นขึ้นไป
            1.3 Pseudostratified type หมายถึงการเรียงตัวของเซลล์เพียงชั้นเดียว แต่เซลล์มีลักษณะสูงต่ำไม่เท่ากัน จึงทำให้มองเห็นเป็นหลายชั้น
       2. แบ่งตามรูปร่างและลักษณะของเซลล์ คือ
            2.1 Squamous รูปร่างของเซลล์จะเป็นสี่เหลี่ยมแบนบาง คล้ายขนมเปียกปูน มีนิวเคลียสรูปไข่อยู่ตรงกลาง
            2.2 Cuboidal รูปร่างของเซลล์จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลาง
            2.3 Columnar รูปร่างของเซลล์จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมทรงสูง นิวเคลียสมักจะอยู่ค่อนมาทางด้านฐานของเซลล์
            2.4 Transitional รูปร่างของเซลล์ไม่แน่นอนสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได 
      3. ลักษณะการเปลี่ยนแปลงพิเศษของเซลล์ชั้นบนสุด (free surface) เช่น มี cilia หรือมี keratin เป็นต้น 
   
      Structure & Locations  of Covering and lining epithelium 

          1.Simple epithelium ประกอบด้วยเซลล์ที่จัดเรียงตัวเพียงชั้นเดียวบน basement membrane แบ่งออกได้เป็น
                 1.1 Simple squamous epithelium ประกอบด้วยเซลล์แบนๆ คล้ายเกล็ดปลา เรียงตัวเพียง                        ชั้นเดียว มีนิวเคลียสเป็นรูปไข่อยู่ตรงกลางเซลล์ พบดาดอยู่ในผนังถุงลมปอด ผนังเส้นเลือด เยื่อบุช่องปอด ช่องหัวใจ และช่องท้อง เป็นต้น
                 1.2 Simple cuboidal epithelium ประกอบด้วยเซลล์ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ลูกบาศก์เรียงตัวชั้นเดียว มีนิวเคลียสกลมอยู่ตรงกลางเซลล์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคัดหลั่ง (secretion) การขับถ่าย(excretion) และการดูดซึม (absorption) พบได้ตามท่อต่างๆ เช่น ที่ท่อไต ท่อรังไข่ ท่อของต่อมน้ำลายและตับอ่อน เป็นต้น 
                 1.3 Simple columnar epithelium ประกอบด้วยเซลล์สี่เหลี่ยมทรงสูง เรียงตัวเป็นชั้นเดียว นิวเคลียสมีลักษณะเป็นรูปรี อยู่ค่อนมาทางด้านฐานของเซลล์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดูดซึมอาหาร จึงมักพบ cilia หรือ microvilli ที่เนื้อผิวของเซลล์นี้เสมอ ซึ่งพบดาดอยู่บริเวณท่อทางเดินอาหาร เป็นส่วนใหญ่
                 1.4 Pseudostratified ciliated columnar epithelium จัดเป็น simple epithelium ชนิดหนึ่งแต่ประกอบไปด้วยเซลล์ที่มีขนาดสูงไม่เท่ากัน ทำให้นิวเคลียสเรียงตัวกันหลายระดับ คล้ายชนิดstratified แต่เซลล์ทั้งหมดตั้งอยู่บน basement membrane เดียวกัน และมี cilia อยู่บริเวณด้านบนของเซลล์ พบได้ตามทางเดินหายใจและท่อในระบบสืบพันธุ์ เพศชาย
 
          2.Stratified epithelium ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวกัน 2 - 3 ชั้นขึ้นไป มักมีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการเสียดสีทั้งจากภายนอกและภายในร่างกาย การแยกชนิดของ stratified epithelium นั้นดูจากรูปร่างของเซลล์ที่อยู่ชั้นบนๆเท่านั้น ทั้งนี้เพราะเซลล์ที่อยู่ใกล้ basement membrane ทั้งหมดมักมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ แทบทั้งสิ้น stratified epithelium แบ่งออกเป็น
                 2.2 Stratified squamous epithelium
                                    2.1.1 Stratified squamous non-keratinizing epithelium เป็นเนื้อเยื่อบุ
                        ผิวชนิดชื้น(moist type) มักดาดบริเวณที่มีการเสียดสีมากๆในร่างกาย ได้แก่ ช่องปาก
                        หลอดคอ (pharynx) หลอดอาหาร (esophagus) ช่องคลอด (vagina) เป็นต้น
                                    2.1.2 Stratified squamous keratinizing epithelium เป็นเนื้อเยื่อ บุผิวชนิดแห้ง 
                        (dry type) เซลล์ชนิดนี้จะมีการสร้างสารที่เรียกว่า keratin ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งออกมา
                        ปกคลุมผิวชั้นบนเพื่อป้องกันการเสียดสีและการละเหยของน้ำจากร่างกาย พบได้ บริเวณผิว
                        หนังชั้นหนังกำพร้า (epidermis)
                 2.2 Stratified cuboidal epithelium ประกอบด้วยเซลล์ 2 - 3 ชั้น โดยชั้นบนสุดเป็นสี่เหลี่ยมทรงลูกบาศก์ พบเฉพาะท่อขนาดใหญ่ของต่อมต่างๆ เช่น ต่อมน้ำลาย (salivary gland) ตับอ่อน(pancreases) และต่อมเหงื่อ (sweat gland) เป็นต้น
                 2.3 Stratified columnar epithelium ประกอบด้วยเซลล์หลายชั้น ชั้นบนสุดเป็นรูปสี่เหลี่ยมทรงสูง พบได้น้อยในร่างกายที่พบได้คือ บริเวณท่อขนาดใหญ่ของต่อมบางชนิด
                 2.4 Transitional epithelium จัดเป็น stratified epithelium ชนิดหนึ่ง พบได้ตามอวัยวะในทางเดินปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะ (bladder) ท่อปัสสาวะ (urethra) และ ท่อไต (ureter) มีลักษณะพิเศษที่สามารถยืดหดตัวได้ เช่น ขณะที่กระเพาะปัสสาวะว่างจะพบว่า เซลล์ที่บุกระเพาะปัสสาวะมีลักษณะเป็น cuboidal แต่ถ้ามีปัสสาวะอยู่เต็มจะพบว่า เซลล์ มีลักษณะเป็น squamous

  • 2. Grandular Epithelium
Grandular Epithelium เป็นเนื้อเยื่อบุผิวที่ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ ทำหน้าที่ในการสร้างสารคัดหลั่ง(secretion) เรียกว่า ต่อม (gland) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
       1. ต่อมมีท่อ (exocrine gland) เป็นต่อมที่มีท่อนำสารคัดหลั่งออกสู่ภายนอก
       2. ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) นำสิ่งคัดหลั่งที่เรียกว่า ฮอร์โมน (hormone) ออกสู่ภายนอก โดยการซึมหรือไหลผ่านเข้าเส้นเลือด

       ต่อมมีท่อ (exocrine gland) ลักษณะของต่อมมีท่อ จะเป็นเนื้อเยื่อบุผิวที่มีการเว้าตัวลงไป และเจริญกลายไปเป็นต่อม การแยกประเภทของต่อมมีท่อนี้จะอาศัย
          1. ลักษณะของท่อ (duct) ที่นำสิ่งที่คัดหลั่งออกมา
                    1.1 Simple gland คือ เป็นต่อมที่มีท่อเปิดสู่ภายนอกเพียงท่อเดียว
                    1.2 Compound gland คือ เป็นต่อมที่มีลักษณะคล้าย simple gland หลายต่อม
                          และส่งสารออกมาตามท่อต่างๆ หลายๆท่อ และมารวมกันเป็นท่อใหญ่เปิดออกสู่ภาย
                          นอกเพียงท่อเดียว
          2. รูปร่างของเซลล์ที่สร้างสิ่งคัดหลั่ง (secretory unit) ที่อยู่ปลายสุดของท่อ
                    2.1 Tubular มีรูปร่างเป็นท่อ
                    2.2 Alveolar หรือ acinar เป็นรูปลักษณะคล้ายถุงลมปอดหรือพวงองุ่น
                    2.3 Tubulo-acinar คือ มีทั้ง 2 ลักษณะผสมกัน

  • จากการแบ่งลักษณะของต่อมมีท่อออกเป็น 2 อย่างคือส่วนที่เป็นท่อ และส่วนของเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างสารคัดหลั่ง จึงอาจแยกชนิดของต่อมมีท่อได้ดังนี้
          1. Simple gland แบ่งออกได้เป็น
          1.1 Simple tubular gland เป็นต่อมที่มีท่อเปิดออกภายนอกเพียงท่อเดียว และมีหน่วยคัดหลั่ง (secretory unit) มีลักษณะเป็นท่อ ซึ่งแบ่งย่อยตามลักษณะ secretory unit ได้แก่
                    1.1.1 simple straight tubular gland มี secretory unit ที่มีลักษณะตรง เช่น crypt of Lieberkuhn ในทางเดินอาหาร
                    1.1.2 simple coiled tubular gland มี secretory unit ที่มีลักษณะเป็นท่อขดไปมา เช่น ต่อมเหงื่อ (sweat gland)
                    1.1.3 simple branch tubular gland มี secretory unit ที่มีลักษณะเป็นท่อแตกแขนง เช่น gastric gland ในกระเพาะอาหาร
          1.2 Simple alveolar (acinar) gland เป็นต่อมที่มีท่อเปิดออกภายนอกเพียงท่อเดียว และ secretory unit มีลักษณะเป็นกระเปาะ ได้แก่
                    1.2.1 Simple alveolar (acinar) gland มี secretory unit ที่มีลักษณะเป็นกระเปาะเพียงอันเดียว
                    1.2.2 Simple branched alveolar (acinar) gland มี secretory unit ที่มีลักษณะเป็นกระเปาะ และแตกแขนงออกเป็นหลายๆ กระเปาะ เช่น ต่อมไขมัน (sebaceous gland)

          2. Compound gland แบ่งออกได้เป็น
          2.1 Compound tubular gland มีลักษณะเป็นท่อหลายท่อ ที่มาเปิดเข้าท่อรวมอันหนึ่ง เช่น ต่อมที่อยู่ในไต
          2.2 Compound alveolar (acinar) gland มีลักษณะเป็นพวงองุ่นหลายพวง ที่มาเปิดรวมกัน เช่น ต่อมน้ำนม (memmary gland)
          2.3 Compound tubolo-alveolar (tubulo-acinar) gland มีลักษณะทั้งแบบเป็นท่อและพวงองุ่นอยู่รวมกัน เช่น ต่อมในตับอ่อน ต่อมน้ำลาย (seccretory gland) 
  • ถ้าแบ่งต่อมมีท่อตามลักษณะของสิ่งที่คัดหลั่งออกมา แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
          1. Mucous gland หมายถึงต่อมที่มีเซลล์ที่สร้าง และคัดหลั่งสารที่มีลักษณะเหนียวเป็นเมือกออกมา
          2. Serous gland หมายถึงต่อมที่มีเซลล์ที่สร้าง สารลักษณะเป็นน้ำใส มักเป็นพวกเอนไซม์ (enzyme)
          3. Mixed muco-serous gland (Seromucous gland) หมายถึงต่อมที่มีเซลล์ที่สร้างทั้งสารที่มีลักษณะเหนียวเป็นเมือก และเป็นน้ำใสออกมาปะปนกัน
  • นอกจากนี้ยังมีการแบ่งต่อมมีท่อ ตามลักษณะของการส่งออกของสารที่สร้างขึ้น โดยแบ่งออกเป็น
          1. Holocrine gland เป็นต่อมที่สร้างและเก็บสารที่สร้างเอาไว้ในไซโตพลาสซึม เมื่อต้องการคัดหลั่งสารที่สร้างขึ้น เซลล์จึงต้องมีการสลายตัวหรือหลุดออกมาทั้งเซลล์ ดังนั้นต่อมชนิดนี้จึงมีการแบ่งตัวที่รวดเร็วเพื่อทดแทนเซลล์ที่สลายตัวหรือ หลุดออกไป เช่น ต่อมไขมัน (sebaceous gland)
          2. Apocrine gland เป็นต่อมที่สร้างและเก็บสิ่งที่จะคัดหลั่งเอาไว้ในไซโตพลาสซึม และรวมกันอยู่บริเวณผิวด้านบนของเซลล์ (apical surface) ดังนั้นเวลาคัดหลั่งสารที่สร้างขึ้น จึงมี cytoplasm บางส่วนของเซลล์หลุดออกมาด้วย เช่น ต่อมน้ำนม (mammary gland)
          3. Merocrine gland เป็นต่อมที่สร้างและคัดหลั่งเฉพาะสารที่สร้างขึ้น โดยวิธี exocytosis เช่น ต่อมน้ำลาย (salivary gland)

      ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland)
          ต่อมไร้ท่อ เป็นเซลล์ของเนื้อเยื่อบุผิวที่เว้าตัวลงไปฝังอยู่ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน จนกระทั่งส่วนที่เป็นท่อหายไป และมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมาห่อหุ้มเรียกว่า capsule สารที่ต่อมไร้ท่อสร้าง จะถูกส่งไปส่วนต่างๆของร่างกายโดยการแพร่ (diffusion) ผ่านเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือด เรียกว่า ฮอร์โมน (hormone) ซึ่งจะไปควบคุมการทำงานของเซลล์หรือเนื้อเยื่อต่างๆที่อยู่ไกลออกไปจากต่อม ลักษณะของต่อมมักแบ่งออกเป็นพู (lobe) ล้อมรอบด้วยเส้นเลือดขนาดเล็กมากมาย
          นอกจากนี้ ยังมีต่อมไร้ท่อที่มีลักษณะการเรียงตัวของเซลล์เป็นท่อวงกลม ซึ่งเรียกว่า follicles และมีช่องว่างอยู่ภายใน เรียกว่า follicular lumen ไว้สำหรับเก็บสิ่งที่ต่อมสร้างขึ้น เรียกต่อมชนิดนี้ว่า follicular endocrine gland ได้แก่ ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland)

อ่านเพิ่มเติม