May 3, 2012

การเรียนชั้นPreclinic ( ปี 1-3 )

อันนี้ไปก็อปคนอื่นมาจ้า เพราะไม่รู้เหมือนกัน เพิ่งจบปีหนึ่ง 555
credit : BearyPooh
 
การเรียนหมอในมหาวิทยาลัยต่างๆนั้นจะใช้เวลาในการเรียนทั้งสิ้น 6 ปีโดย 6 ปีนั้นเป็นเพียงความรู้พื้นฐานที่พอไปรักษาคนได้เท่านั้นเอง คนเป็นหมอจะต้องขวนขวายหาความรู้สม่ำเสมอเพราะว่าวิชาการนั้นก้าวไปไม่หยุดยั้ง เรามาดูกันเลยดีกว่าว่าในแต่ละปีหมอเรียนอะไรกันบ้าง

ปี 1 Basics science (วิทยาศาสตร์พื้นฐานการแพทย์) 
ชั้นปีนี้เรียกว่าชั้นเตรียมแพทย์ โดยที่เนื้อหาที่เรียนนั้นจะเป็นวิชาทั่วไปได้แก่ Calculus สถิติ เคมีอนินทรีย์ เคมีอินทรีย์ ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ ซึ่งวิชาเหล่านี้ดูเหมือนจะเรียนไปทำไม
"เราจะเป็นหมอนะเรียนฟิสิกส์ทำไม" "เป็นหมอต้องเก่งชีวะสิ วิชาอื่นเรียนทำไม โดยเฉพาะฟิสิกส์เนี่ย"
หลายๆคนอาจคิดแบบนี้ แต่ในความเป็นจริงนะ หมอจะต้องใช้ทั้งฟิสิกส์ เคมี ชีวะเท่าๆกันไม่มีอะไรสำคัญกว่า 
ใช้ยังไงล่ะ?
ก่อนอื่นเราต้องมาเข้าใจก่อนว่าทำไมปี 1 ถึงต้องเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เพราะว่าเขาต้องการให้เรารู้จักธรรมชาติ ได้แก่ ธรรมชาติของจำนวน(คณิตศาสตร์) ธรรมชาติของสิ่งที่เป็นกายภาพเช่นแสง เสียง ความร้อน การเคลื่อนไหวต่างๆ ไฟฟ้า(ฟิสิกส์) ธรรมชาติของการมีปฏิสัมพันธ์กันของสารต่างๆ (เคมี) ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต(ชีวะ) แล้วนักเรียนแพทย์ก็ต้องนำความรู้พื้นฐานเหล่านี้ไปใช้ในการเรียนต่อๆไปในปีที่สูงขึ้น 

ปี 2 ความปกติของร่างกาย  
        ในปี 2 นี้ จะเรียนเกี่ยวกับความปกติของร่างกายโดยเนื้อหาที่เรียนจะเป็นการนำความรู้ในปี 1 มาประยุกต์

  • Biochemistry(ชีวเคมี) วิชานี้จะเรียนกับกลไกการเกิดปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย การสลายและสร้างสารต่างๆในร่างกาย ซึ่งถ้ากลไกเหล่านี้ผิดปกติไปจะเกิดโรคขึ้นมาได้ วิชานี้ต้องใช้ความรู้ชีววิทยาและเคมีทั้งเคมีอินทรีย์และอนินทรีย์มาประยุกต์

  • Physiology(สรีรวิทยา) วิชานี้เรียนเกี่ยวกับกลไกการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายเช่นระบบไหลเวียนโลหิต ระบบขับถ่าย ระบบหายใจ ระบบประสาทเป็นต้น วิชานี้จะต้องใช้ความรู้ทางฟิสิกส์มาประยุกต์อย่างมากๆ(ได้ใช้แล้ว^^)

  • Pharmacology(เภสัชวิทยา) วิชานี้เรียนเกี่ยวกับยา การใช้ยา กลไกการออกฤทธิ์ของยา วิชานี้จะต้องใช้ความรู้ของเคมีอินทรีย์ และชีวเคมีมาประยุกต์

  • Anatomy(กายวิภาคศาสตร์) วิชานี้จะแบ่งออกเป็น 3 วิชาคือ
        1.Gross anatomy(มหกายวิภาคศาสตร์) จะเรียนเกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกายที่มองเห็นด้วยตาเปล่า กล้ามเนื้อ กระดูก จะได้มีการทำแล็บด้วยที่เขาเรียกกันว่า ทำแล็บกรอสหรือผ่าอาจารย์ใหญ่นั่นเอง
        2.Embryology(วิทยาเอมบริโอ) จะเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาการของคนในครรภ์แม่ตั้งแต่ปฏิสนธิจนพร้อมคลอด
        3.Histology วิชานี้จะศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างที่ปกติ วิชานี้จะได้ทำแล็บเป็นส่วนใหญ่คือส่องดูเนื้อเยื่อนั่นเอง

  • Neuroscience(ประสาทวิทยา) วิชานี้จะศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทโดยจะแบ่งเนื้อหาเป็น 2 รายวิชาคือ
        1.Neuroanatomy(ประสาทกายวิภาคศาสตร์) จะศึกษาโครงสร้างของระบบประสาทได้แก่ สมอง เส้นประสาท ไขสันหลัง
        2.Neurophysiology(ประสาทสรีวิทยา) จะศึกษาการทำงานของระบบประสาทโดยจะต้องใช้ความรู้เรื่องไฟฟ้าเป็นหลักเลย
        จบความรู้ของความปกติของร่างกายในปี 2 ต่อไปก็จะก้าวสู่ปี 3 คือจะนำความรู้ในปี 2 ไปประยุกต์แล้วล่ะ
 
ปี3 ความผิดปกติของร่างกาย เนื้อหาที่เรียนได้แก่
  • Microbiology(จุลชีววิทยา) จะเรียนเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่ทำให้เกิดโรคได้ เช่น พวกรา แบคทีเรีย โปรโตซัว
  • Pathology(พยาธิวิทยา) วิชานี้จะศึกษาโครงสร้างความผิดปกติของเนื้อเยื่อต่างๆ โดยใช้ความรู้ Anatomy มาประยุกต์
  • Pathophysiology(พยาธิสรีรวิทยา) วิชานี้จะศึกษาความผิดปกติของกลไกต่างๆในร่างกาย โดยใช้ความรู้ของ biochemistry และ physiology มาประยุกต์
  • Medical genetics(พันธุศาสตร์การแพทย์) วิชานี้จะศึกษาเกี่ยวกับพันธุศาสตร์ที่เกี่ยวกับกลไกการเกิดโรค ก็จะใช้ความรู้ของ biochemistry มาประยุกต์

วิชาในปี 3 นี้ก็จะมีบางวิชาต้องไปเรียนในตัวโรงพยาบาลเช่น พยาธิวิทยา เป็นต้น และปี 3 เทอม 2 จะได้เรียนวิชาอาการวิทยา หรือการตรวจร่างกายเบื้องต้น พอได้ทราบสิ่งที่เรียนในชั้น preclinic กันแล้ว ต่อไปก็จะเป็นชั้นปี 4 และ 5 ซึ่งจะเรียกว่าชั้น clinic คือเราจะต้องนำความรู้ในปี 2 และ 3 ไปประยุกต์ในการรักษาผู้ป่วยจริง จะเรียนเกี่ยวกับโรคต่างๆ

แต่ก่อนที่จะก้าวไปชั้นปีที่ 4 นั้น นักเรียนแพทย์ปี 3 จะต้องสอบความรู้พื้นฐาน precilic ซึ่งจัดสอบโดยแพทยสภาก่อนโดยการสอบนี้จะมีผลกับการอนุมัติใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม(หรือใบประกอบโรคศิลป์ เรียกว่า NL หรือ NT) ตอนจบแล้ว

No comments:

Post a Comment