May 3, 2012

Faculty of Medicine at Princess of Naradhiwas University in southern Thailand.-คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

วัตถุประสงค์การจัดตั้งมหาวิทยาลัย
       การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่จังหวัดนราธิวาส นอกจากจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชนในพื้นที่และประหยัดงบประมาณของประเทศในการสูญเสียดุลการค้าระหว่างประเทศแล้ว ยังเป็นการช่วยเสริมสร้างเอกภาพและความมั่นคงของชาติ ต้องการเชื่อมโยงการศึกษากับศาสนาเข้าสู่วิถีชีวิตของประชาชนชาวมุสลิม ช่วยก่อให้เกิด ความรัก ความผูกพัน และสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม วัฒนธรรมและประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน รวมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างรัฐและประชาชนชาวมุสลิม ให้เกิดความรัก ความสามัคคี ลดความขัดแย้งทางสังคมและการเมือง รวมทั้งการก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

สีประจำมหาวิทยาลัย

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย


เพลงประจำมหาวิทยาลัย
1. เพลงทองฟ้า (มาร์ชมหาวิทยาลัยฯ)

 ผู้ประพันธ์: ผศ.อำไพ   วชิรอำไพ

     *    ถิ่นนี้น้องพี่รวมใจ
นามยิ่งใหญ่นราธิวาสราชนครินทร์
สีทองฟ้าเจิดจรัสอาจิณต์
ดั่งเรารักถิ่นรักศักดิ์ศรีนิรันดร์
       มนร. นามนี้ เป็นที่รัก
ร่วมสมัครสามัคคีสมานฉันท์
แดนดินทักษิณถิ่นผูกพัน
เป็นมิ่งขวัญล้ำค่าสง่าเมือง
    
    ** ผองเราสัญญาศรัทธามั่น
สร้างสรรค์ความดีให้ลือเลื่อง
รู้ค่ารู้คุณสร้างไทยรุ่งเรือง
เทิดพระนามศรีแห่งเมืองมั่นในอุดมการณ์
       สายธารแห่งรักประจักษ์ค่า
สายธารแห่งศรัทธาจะเล่าขาน
ดำรงไว้เกียรติศักดิ์สถาบัน
คุณค่านั้นคงอยู่คู่ถิ่นไทย 
    (ซ้ำ *,**)
--------------------------------------
2. คือ มนร.

 ผู้ประพันธ์: อ.กฤษกร   ไชยยาว

     สี่สถาบัน  มารวมกันให้เป็นหนึ่งเดียว
ถักทอเป็นเกลียว    สร้างพลังมุ่งมั่นฟันฝ่า
เกิดเป็นมหาลัยในดวงใจ  แห่งเมืองนรา
สร้างความก้าวหน้า  ม.นรา  ชื่อนี้ยืนยง
      พยาบาลเกษตร  การอาชีพตากใบ  วิทยาลัยเทคนิค
 จตุรมิตร  จุดเริ่มคิด  ถ่ายทอดวิชา
 ให้ความเจริญ  ความเชื่อมั่นด้านการศึกษา
 แหล่งปวงประชา  ชาวนราร่วมกันเทิดทูน
 
  **  เป็นสถาบัน  ดั่งใจฝันที่ชนต้องการ
 ส่งเสริมลูกหลานสร้างฐานให้สังคม
 สร้างความกลมเกลียวนำความรู้สู่ชุมชน
 ติดตรึงใจชน  ม.นราธิวาสราชนครินทร์

       เป็นสถาบันที่เติมฝัน  และให้โอกาส
 สร้างความเปรื่องปราด  เยาวชนฝึกฝนไข่วคว้า
 เพิ่มความเข้มแข็งทางความคิด  ร่วมพัฒนา
 ให้ ม.นรา  เป็นสถาบันหนึ่งในใจเรา
(ซ้ำ **)
----------------------------------------
3. เพลงลูกพิกุล

ผู้ประพันธ์: อ.นภาพร   ทิพย์มณเฑียร

    หอมกรุ่นดอกพิกุลหอมบริสุทธิ์
หอมประดุจความดีที่เราสร้างสม
ณ  ถิ่นนี้สามัคคีเกลียวกลม
น่าชื่นชม  สร้างความรู้คู่ความดี
     ร่มเงา  แผ่คลุมใจให้ความรัก
อบอุ่นนักด้วยเรารักในศักดิ์ศรี
ร่วมสร้างสรรค์เพื่อความสุขทุกชีวี
รื่นฤดี  ความผูกพันฉันและเธอ
  ** สีขาวนวลแม้ร่วงสู่ดินกลิ่นยังหอมกรุ่น
แนบใจทุกรุ่นหอมชื่นใจจำได้เสมอ
เคยเก็บพิกุลส่งจากใจมอบให้เธอ
จริงใจเสมอเราลูกพิกุลรักไม่รู้คลาย
      ไม่สิ้นพิกุลกลิ่นละมุนไม่สิ้นความดี
 คุณค่าศักดิ์ศรีค่าแห่งรักจักไม่จางหาย
*** เราน้องพี่มุ่งทำดีจนชีวีวาย
อยู่หนแห่งใดศรัทธามั่นไว้ในถิ่นพิกุล
     (ซ้ำ * *) (ซ้ำ ***)

          ปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหาด้านสุขภาพของประชาชน ที่สำคัญคือการขาดแคลนแพทย์ ทั้งจำนวนและการกระจายโดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค สิ้นปีพุทธศักราช  2545  ประเทศไทยมีจำนวนประชากร 62,779,872 คน แต่มีแพทย์ที่ทำงานจริงจำนวน 22,879 คน คิดเป็นสัดส่วนแพทย์ต่อประชากร 1: 2,745 คน  ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น  ดังนั้นพื้นที่ที่มีแพทย์ต่อประชากรน้อยคือส่วนภูมิภาคและพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยโดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้คือ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่มีสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรน้อยที่สุด
    ดังนั้นเพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประชาชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ในการประชุมเมื่อวันที่  22  กรกฎาคม 2548 ซึ่งได้มีมติให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นโดยรับนักศึกษาโดยตรงจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา  และจังหวัดปัตตานี เพื่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์อย่างรุนแรงในพื้นที่ และยังเป็นวัตกรรมทางการศึกษาที่กระจายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้นักเรียนที่มีการเรียนสะสมดี มีโอกาสเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะคณะแพทยศาสตร์ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อระหว่างการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษาที่ดีและเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้านความมั่นคง โดยการใช้การศึกษาเป็นกลยุทธ์หลักการแก้วิกฤติการณ์ปัญหาความรุนแรงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันนำมาซึ่งความสมานฉันท์ ลดความขัดแย้ง รุนแรง และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้ความหลากหลายทางวิถีชีวิตและวัฒนธรรม โดยเริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2550 จำนวน 16 คน และในรุ่นต่อไป รุ่นละ  24 คน

การจัดการเรียนการสอน 
           1.ช่วงชั้นปรีคลินิก (ชั้นปีที่ 1) ศึกษาที่มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
         2.ช่วงชั้นปรีคลินิก (ชั้นปีที่ 2-3) ศึกษาที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
         3.ช่วงชั้นคลินิก (ชั้นปีที่ 4-6) ศึกษาที่โรงพยาบาลสงขลา โรงพยาบาลระโนด  โรงพยาบาลสทิงพระ และโรงพยาบาลสงขลาราชนครินทร์

No comments:

Post a Comment