CourseSyllabus:http://biochem.md.chula.ac.th/Data/PDF%20files/Course%20Syllabus%20CBMS%202011-24NOV11.pdf
จะมีทั้งทบทวนเนื้อหา ม.ปลาย แล้วก็มีเรื่องใหม่เพิ่มขึ้นมาด้วย สำหรับเรื่องที่ต้องอ่านเยอะหน่อยคือ Animal Tissue เนื้อหาทั้งหมด ได้แก่
จะมีทั้งทบทวนเนื้อหา ม.ปลาย แล้วก็มีเรื่องใหม่เพิ่มขึ้นมาด้วย สำหรับเรื่องที่ต้องอ่านเยอะหน่อยคือ Animal Tissue เนื้อหาทั้งหมด ได้แก่
Epithelial | |
Muscle | |
Connective | |
Nerve | |
Blood |
A brief introduction to the major types of animal tissues
- 1. Epithelial
- 2. Muscle
- 3. Connective
- Supporting connective tissue
- Dense connective tissue
- Loose connective tissue
- Adipose tissue
- 4. Nerve
- Neurons
- Glia
- 5. Blood
สำหรับเนื้อหาภาษาไทยก็ตามนี้ค่ะ http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ap-biology1/Chapter4/index.htm
Epithelial
- โครงสร้างของเนื้อเยื่อบุผิว (Structure of the Epithelial tissue)
- หน้าที่ของเนื้อเยื่อบุผิว (Function of the Epithelial tissue)
2. Absorption คือ ความสามารถในการดูดซึมสารต่างๆ เช่น เยื่อบุผิวในลำไส้ ปอดและไต
3. Lubication ความสามารถในการสร้างสารหล่อลื่นหรือสารเมือก เพื่อลดการเสียดสีของอวัยวะต่างๆ เช่น สารเมือกที่สร้างขึ้นโดยเซลล์เยื่อบุผิวของทางเดินอาหาร
4. Secretion คือ ความสามารถในการสร้างและคัดหลั่งสารต่างๆเช่น ฮอร์โมน เอนไซม์
5. Excretion คือ ความสามารถในการแยกและขับเอาของเสียทิ้ง เช่น เหงื่อ ปัสสาวะ
6. Sensation คือ ความสามารถในการรับความรู้สึก เช่น เซลล์รับรส และเซลล์รับกลิ่น
7. Reproduction คือ ความสามารถในการสร้างหรือเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์สืบพันธุ์ เช่น เซลล์เยื่อบุผิวในรังไข่และ seminiferous tubule ของอัณฑะ
- การแบ่งประเภทของเนื้อเยื่อบุผิว (Classification of the Epithelial tissue)
1. Covering and lining epithelium ประกอบ ด้วยเซลล์ที่เรียงตัวซ้อนกันเป็นชั้นๆ คลุมอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกายทั้งภายในและภายนอก เช่น ดาดอยู่บนผิวหนังของร่างกายอวัยวะที่เป็นท่อ เช่น หลอดเลือด หลอดอาหาร หลอดลม ฯลฯ หรือดาดอยู่ภายในช่องต่างๆ เช่น ช่องอก ช่องท้อง ฯลฯ เนื้อเยื่อบุผิวพวกนี้จะไม่มีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยง
2. Glandular epithelium ประกอบด้วยเซลล์ที่รวมตัวกันเพื่อทำหน้าที่พิเศษ พบบริเวณส่วนลึกในเนื้อเยื่อต่างๆ มักทำหน้าที่ในการสร้างและคัดหลั่งสาร (secretion) เช่น ฮอร์โมน (hormone), ไขมัน (lipid) ฯลฯ
- 1. Covering and lining epithelium
1. แบ่งตามจำนวนชั้นของเซลล์ที่มาเรียงประกอบกันเป็นเนื้อเยื่อบุผิว
1.1 Simple type หมายถึง การเรียงตัวของเซลล์เพียงชั้นเดียว
1.2 Stratified type หมายถึงการเรียงตัวของเซลล์มากกว่า 2 ชั้นขึ้นไป
1.3 Pseudostratified type หมายถึงการเรียงตัวของเซลล์เพียงชั้นเดียว แต่เซลล์มีลักษณะสูงต่ำไม่เท่ากัน จึงทำให้มองเห็นเป็นหลายชั้น
2. แบ่งตามรูปร่างและลักษณะของเซลล์ คือ
2.1 Squamous รูปร่างของเซลล์จะเป็นสี่เหลี่ยมแบนบาง คล้ายขนมเปียกปูน มีนิวเคลียสรูปไข่อยู่ตรงกลาง
2.2 Cuboidal รูปร่างของเซลล์จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลาง
2.3 Columnar รูปร่างของเซลล์จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมทรงสูง นิวเคลียสมักจะอยู่ค่อนมาทางด้านฐานของเซลล์
2.4 Transitional รูปร่างของเซลล์ไม่แน่นอนสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได
3. ลักษณะการเปลี่ยนแปลงพิเศษของเซลล์ชั้นบนสุด (free surface) เช่น มี cilia หรือมี keratin เป็นต้น
Structure & Locations of Covering and lining epithelium
1.Simple epithelium ประกอบด้วยเซลล์ที่จัดเรียงตัวเพียงชั้นเดียวบน basement membrane แบ่งออกได้เป็น
1.1 Simple squamous epithelium ประกอบด้วยเซลล์แบนๆ คล้ายเกล็ดปลา เรียงตัวเพียง ชั้นเดียว มีนิวเคลียสเป็นรูปไข่อยู่ตรงกลางเซลล์ พบดาดอยู่ในผนังถุงลมปอด ผนังเส้นเลือด เยื่อบุช่องปอด ช่องหัวใจ และช่องท้อง เป็นต้น
1.2 Simple cuboidal epithelium ประกอบด้วยเซลล์ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ลูกบาศก์เรียงตัวชั้นเดียว มีนิวเคลียสกลมอยู่ตรงกลางเซลล์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคัดหลั่ง (secretion) การขับถ่าย(excretion) และการดูดซึม (absorption) พบได้ตามท่อต่างๆ เช่น ที่ท่อไต ท่อรังไข่ ท่อของต่อมน้ำลายและตับอ่อน เป็นต้น
1.3 Simple columnar epithelium ประกอบด้วยเซลล์สี่เหลี่ยมทรงสูง เรียงตัวเป็นชั้นเดียว นิวเคลียสมีลักษณะเป็นรูปรี อยู่ค่อนมาทางด้านฐานของเซลล์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดูดซึมอาหาร จึงมักพบ cilia หรือ microvilli ที่เนื้อผิวของเซลล์นี้เสมอ ซึ่งพบดาดอยู่บริเวณท่อทางเดินอาหาร เป็นส่วนใหญ่
1.4 Pseudostratified ciliated columnar epithelium จัดเป็น simple epithelium ชนิดหนึ่งแต่ประกอบไปด้วยเซลล์ที่มีขนาดสูงไม่เท่ากัน ทำให้นิวเคลียสเรียงตัวกันหลายระดับ คล้ายชนิดstratified แต่เซลล์ทั้งหมดตั้งอยู่บน basement membrane เดียวกัน และมี cilia อยู่บริเวณด้านบนของเซลล์ พบได้ตามทางเดินหายใจและท่อในระบบสืบพันธุ์ เพศชาย
2.Stratified epithelium ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวกัน 2 - 3 ชั้นขึ้นไป มักมีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการเสียดสีทั้งจากภายนอกและภายในร่างกาย การแยกชนิดของ stratified epithelium นั้นดูจากรูปร่างของเซลล์ที่อยู่ชั้นบนๆเท่านั้น ทั้งนี้เพราะเซลล์ที่อยู่ใกล้ basement membrane ทั้งหมดมักมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ แทบทั้งสิ้น stratified epithelium แบ่งออกเป็น
2.2 Stratified squamous epithelium
2.1.1 Stratified squamous non-keratinizing epithelium เป็นเนื้อเยื่อบุ
ผิวชนิดชื้น(moist type) มักดาดบริเวณที่มีการเสียดสีมากๆในร่างกาย ได้แก่ ช่องปาก
หลอดคอ (pharynx) หลอดอาหาร (esophagus) ช่องคลอด (vagina) เป็นต้น
2.1.2 Stratified squamous keratinizing epithelium เป็นเนื้อเยื่อ บุผิวชนิดแห้ง
(dry type) เซลล์ชนิดนี้จะมีการสร้างสารที่เรียกว่า keratin ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งออกมา
ปกคลุมผิวชั้นบนเพื่อป้องกันการเสียดสีและการละเหยของน้ำจากร่างกาย พบได้ บริเวณผิว
หนังชั้นหนังกำพร้า (epidermis)
2.2 Stratified cuboidal epithelium ประกอบด้วยเซลล์ 2 - 3 ชั้น โดยชั้นบนสุดเป็นสี่เหลี่ยมทรงลูกบาศก์ พบเฉพาะท่อขนาดใหญ่ของต่อมต่างๆ เช่น ต่อมน้ำลาย (salivary gland) ตับอ่อน(pancreases) และต่อมเหงื่อ (sweat gland) เป็นต้น
2.3 Stratified columnar epithelium ประกอบด้วยเซลล์หลายชั้น ชั้นบนสุดเป็นรูปสี่เหลี่ยมทรงสูง พบได้น้อยในร่างกายที่พบได้คือ บริเวณท่อขนาดใหญ่ของต่อมบางชนิด
2.4 Transitional epithelium จัดเป็น stratified epithelium ชนิดหนึ่ง พบได้ตามอวัยวะในทางเดินปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะ (bladder) ท่อปัสสาวะ (urethra) และ ท่อไต (ureter) มีลักษณะพิเศษที่สามารถยืดหดตัวได้ เช่น ขณะที่กระเพาะปัสสาวะว่างจะพบว่า เซลล์ที่บุกระเพาะปัสสาวะมีลักษณะเป็น cuboidal แต่ถ้ามีปัสสาวะอยู่เต็มจะพบว่า เซลล์ มีลักษณะเป็น squamous
- 2. Grandular Epithelium
1. ต่อมมีท่อ (exocrine gland) เป็นต่อมที่มีท่อนำสารคัดหลั่งออกสู่ภายนอก
2. ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) นำสิ่งคัดหลั่งที่เรียกว่า ฮอร์โมน (hormone) ออกสู่ภายนอก โดยการซึมหรือไหลผ่านเข้าเส้นเลือด
ต่อมมีท่อ (exocrine gland) ลักษณะของต่อมมีท่อ จะเป็นเนื้อเยื่อบุผิวที่มีการเว้าตัวลงไป และเจริญกลายไปเป็นต่อม การแยกประเภทของต่อมมีท่อนี้จะอาศัย
1. ลักษณะของท่อ (duct) ที่นำสิ่งที่คัดหลั่งออกมา
1.1 Simple gland คือ เป็นต่อมที่มีท่อเปิดสู่ภายนอกเพียงท่อเดียว
1.2 Compound gland คือ เป็นต่อมที่มีลักษณะคล้าย simple gland หลายต่อม
และส่งสารออกมาตามท่อต่างๆ หลายๆท่อ และมารวมกันเป็นท่อใหญ่เปิดออกสู่ภาย
นอกเพียงท่อเดียว
2. รูปร่างของเซลล์ที่สร้างสิ่งคัดหลั่ง (secretory unit) ที่อยู่ปลายสุดของท่อ
2.1 Tubular มีรูปร่างเป็นท่อ
2.2 Alveolar หรือ acinar เป็นรูปลักษณะคล้ายถุงลมปอดหรือพวงองุ่น
2.3 Tubulo-acinar คือ มีทั้ง 2 ลักษณะผสมกัน
- จากการแบ่งลักษณะของต่อมมีท่อออกเป็น 2 อย่างคือส่วนที่เป็นท่อ และส่วนของเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างสารคัดหลั่ง จึงอาจแยกชนิดของต่อมมีท่อได้ดังนี้
1.1 Simple tubular gland เป็นต่อมที่มีท่อเปิดออกภายนอกเพียงท่อเดียว และมีหน่วยคัดหลั่ง (secretory unit) มีลักษณะเป็นท่อ ซึ่งแบ่งย่อยตามลักษณะ secretory unit ได้แก่
1.1.1 simple straight tubular gland มี secretory unit ที่มีลักษณะตรง เช่น crypt of Lieberkuhn ในทางเดินอาหาร
1.1.2 simple coiled tubular gland มี secretory unit ที่มีลักษณะเป็นท่อขดไปมา เช่น ต่อมเหงื่อ (sweat gland)
1.1.3 simple branch tubular gland มี secretory unit ที่มีลักษณะเป็นท่อแตกแขนง เช่น gastric gland ในกระเพาะอาหาร
1.2 Simple alveolar (acinar) gland เป็นต่อมที่มีท่อเปิดออกภายนอกเพียงท่อเดียว และ secretory unit มีลักษณะเป็นกระเปาะ ได้แก่
1.2.1 Simple alveolar (acinar) gland มี secretory unit ที่มีลักษณะเป็นกระเปาะเพียงอันเดียว
1.2.2 Simple branched alveolar (acinar) gland มี secretory unit ที่มีลักษณะเป็นกระเปาะ และแตกแขนงออกเป็นหลายๆ กระเปาะ เช่น ต่อมไขมัน (sebaceous gland)
2. Compound gland แบ่งออกได้เป็น
2.1 Compound tubular gland มีลักษณะเป็นท่อหลายท่อ ที่มาเปิดเข้าท่อรวมอันหนึ่ง เช่น ต่อมที่อยู่ในไต
2.2 Compound alveolar (acinar) gland มีลักษณะเป็นพวงองุ่นหลายพวง ที่มาเปิดรวมกัน เช่น ต่อมน้ำนม (memmary gland)
2.3 Compound tubolo-alveolar (tubulo-acinar) gland มีลักษณะทั้งแบบเป็นท่อและพวงองุ่นอยู่รวมกัน เช่น ต่อมในตับอ่อน ต่อมน้ำลาย (seccretory gland)
- ถ้าแบ่งต่อมมีท่อตามลักษณะของสิ่งที่คัดหลั่งออกมา แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
2. Serous gland หมายถึงต่อมที่มีเซลล์ที่สร้าง สารลักษณะเป็นน้ำใส มักเป็นพวกเอนไซม์ (enzyme)
3. Mixed muco-serous gland (Seromucous gland) หมายถึงต่อมที่มีเซลล์ที่สร้างทั้งสารที่มีลักษณะเหนียวเป็นเมือก และเป็นน้ำใสออกมาปะปนกัน
- นอกจากนี้ยังมีการแบ่งต่อมมีท่อ ตามลักษณะของการส่งออกของสารที่สร้างขึ้น โดยแบ่งออกเป็น
2. Apocrine gland เป็นต่อมที่สร้างและเก็บสิ่งที่จะคัดหลั่งเอาไว้ในไซโตพลาสซึม และรวมกันอยู่บริเวณผิวด้านบนของเซลล์ (apical surface) ดังนั้นเวลาคัดหลั่งสารที่สร้างขึ้น จึงมี cytoplasm บางส่วนของเซลล์หลุดออกมาด้วย เช่น ต่อมน้ำนม (mammary gland)
3. Merocrine gland เป็นต่อมที่สร้างและคัดหลั่งเฉพาะสารที่สร้างขึ้น โดยวิธี exocytosis เช่น ต่อมน้ำลาย (salivary gland)
ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland)
ต่อมไร้ท่อ เป็นเซลล์ของเนื้อเยื่อบุผิวที่เว้าตัวลงไปฝังอยู่ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน จนกระทั่งส่วนที่เป็นท่อหายไป และมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมาห่อหุ้มเรียกว่า capsule สารที่ต่อมไร้ท่อสร้าง จะถูกส่งไปส่วนต่างๆของร่างกายโดยการแพร่ (diffusion) ผ่านเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือด เรียกว่า ฮอร์โมน (hormone) ซึ่งจะไปควบคุมการทำงานของเซลล์หรือเนื้อเยื่อต่างๆที่อยู่ไกลออกไปจากต่อม ลักษณะของต่อมมักแบ่งออกเป็นพู (lobe) ล้อมรอบด้วยเส้นเลือดขนาดเล็กมากมาย
นอกจากนี้ ยังมีต่อมไร้ท่อที่มีลักษณะการเรียงตัวของเซลล์เป็นท่อวงกลม ซึ่งเรียกว่า follicles และมีช่องว่างอยู่ภายใน เรียกว่า follicular lumen ไว้สำหรับเก็บสิ่งที่ต่อมสร้างขึ้น เรียกต่อมชนิดนี้ว่า follicular endocrine gland ได้แก่ ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland)
อ่านเพิ่มเติม
No comments:
Post a Comment