May 4, 2012

Atomic Structure : โครงสร้างอะตอม [เคมีพื้นฐานสำหรับปี 1 ระดับมหาวิทยาลัย]

Power Point (รศ.อินทิรา หาญพงษ์พันธ์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
เนื้อหาแบบสรุปสั้นๆ : http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/electron-structure/transparency/atom-str-SL.pdf

[Flash] เนื้อหาบางเรื่องต้องใช้จินตนาการ ตอนอ่านอาจจะทำความเข้าใจยากหน่อย ดูเนื้อหาจากฟิสิกส์ราชมงคล(เป็นภาพเคลื่อนไหว)จะเข้าใจง่ายขึ้นค่ะ
1.แบบจำลองอะตอมของนักวิทยาศาสตร์ : Atomic-Structure 1
2.วงโคจรของอิเล็กตรอน : Atomic-Structure 2
3.ปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กตริก : Atomic-Structure 3
4.โมเมนตัมของแสง : Atomic-Structure 4
5.เลขควอนตัม : Atomic-Structure 5
6.บรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัล : Atomic-Structure 6
7.เลขอะตอมมิก : Atomic-Structure 7
8.ใจกลางเครื่องปฏิกรณ์ : Atomic-Structure 8

**ดูหัวข้อที่อาจารย์สอนใน class ประกอบด้วย ถ้าเรื่องไหนไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องอ่านละเอียดค่ะ แค่พอรู้ก็พอ
**เนื้อหาที่เอามาลงให้เป็นเนื้อหาที่หลายๆคนมักจะบ่นว่าเข้าใจยาก มีอยู่ 2 เรื่องคือเลขควอนตัมกับเทอร์โมไดนามิคส์ค่ะ ส่วนเรื่องที่เหลือเนื้อหาค่อนข้างเหมือนม.ปลาย แค่ทบทวนนิดหน่อยก็เข้าใจค่ะ


สรุป เลขควอนตัม (Quantum number)
      เลขควอนตัมคือ ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ใช้อธิบายสมบัติของอนุภาคขนาดเล็กมากๆหรืออิเล็กตรอนที่อยู่ในอะตอม เลขควอนตัมมีอยู่ 4 ชนิด คือ n, l, ml , ms
       1.) เลขควอนตัมหลัก (n) (Principle quantum number)

- บอกถึงระดับพลังงานหลัก
- เลขจำนวนเต็มบวก มีค่า 1,2,3…
# ถ้า n  มีค่ามาก  แสดงว่าอิเล็กตรอนอยู่ห่างนิวเคลียสมากและมีพลังงานมาก(ไม่เสถียร)
 
       2.) เลขควอนตัมออร์บิทัล (l) หรือ เลขควอนตัมโมเมนตัมเชิงมุม (Angular momentum quantum number)
- บอกรูปร่างของออร์บิทัลที่ e- อยู่ ซึ่งค่า l เป็นเลขจำนวนเต็ม ขึ้นกับค่า n
- l มีค่าตั้งแต่ 0,1,2… , n-1 (มีทั้งหมด n ค่า) 
      เช่น e- มี  n = 3     จะมีค่า  l = 0,1,2
  ·l = 0          เรียก    s   orbital
  ·l = 1              ,,     p   orbital   
  ·l = 2              ,,     d   orbital
  ·l = 3              ,,     f    orbital
  ·l = 4              ,,     g   orbital
 

       3.) เลขควอนตัมแม่เหล็ก (ml) Magnetic quantum number     
- บอกจำนวน ออร์บิทัล ในระดับพลังงานหลัก
- แสดงทิศทางการจัดตัวของ ออร์บิทัล
- ค่า ml เป็นเลขจำนวนต็ม ขึ้นกับค่า l 
- ml มีค่าระหว่าง  l  ถึง  – l 
- รวม 2l + 1 ค่า
l =  0   ,   ml  = 0 (s)
l =  1   ,   ml  = 0, +1, -1 (px, py, pz)
l =  2   ,   ml  = 0, +1, +2, -1, -2 (dxy, dyz, dxz, dx2-y2, dz2)
                   l =  3   ,   ml  = 0, +1, +2,+3, -1, -2,-3 (f ไม่ต้องไปสนใจค่ะ มันยุ่งยาก)
(s-orbitals)


https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjf6lsLivlhO6Y7l2bUBUcEt0srtPD18fLru3q-AI6DrGqH8oCOlzLH0068pX8dEjeCvYdAq1ONAv19SpE6uI28dMR-XE_dXhiclWuoWK_XxMxa8bQle1Rpu3jyhys8lv7VIjTSbrq2-b0h/s1600/3.JPG
(p-orbitals : px, py, pz จะเห็นว่าถ้า n(ระดับพลังงานหลัก:เลขที่อยู่หน้าp)เพิ่มขึ้น ขนาดออร์บิทัลจะใหญ่ขึ้น)
(d-orbitals : dxy, dyz, dxz, dx2-y2, dz2)

       4.) เลขควอนตัมสปิน, ms(Spin quantum number) 
  -เป็นตัวเลขบอกทิศทางการหมุนรอบตัวเองของ e- มีค่า  + ½ , - ½
ms  = +½   à  e- อยู่ในสภาพ สปินขึ้น 
ms  = -½   à  e- อยู่ในสภาพ สปินลง  

No comments:

Post a Comment